สสจ.ยะลาเตือนภัย! เด็ก-เยาวชนเล่นประทัดอันตรายถึงมือขาด ตาบอด และอาจเสียชีวิตได้

แสดงความคิดเห็น

ยะลา - รักษาราชการแทนนายแพทย์ สสจ.ยะลา เตือนภัย! เด็ก และเยาวชนเล่นประทัดอันตรายถึงมือขาด ตาบอด และอาจเสียชีวิตได้ หลังพบว่าช่วงเทศกาลถือศีลอด มีผู้บาดเจ็บจากเหตุเล่นประทัดแล้ว 18 รายและบาดเจ็บถึงขั้นรุนแรง6ราย

นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา

วันที่ (16 มิ.ย.) ที่อาคารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และใกล้เทศกาลวันรายอปอซอ ร้านค้าจะนำประทัด พลุ ดอกไม้ไฟมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ทำให้เด็ก และเยาวชนสามารถหาซื้อสิ่งเหล่านี้ได้ง่าย และมีการเล่นประทัดเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และที่น่าเป็นห่วง คือ ซื้อมาเล่นโดยขาดความระมัดระวัง และเกิดอุบัติเหตุจากประทัดมากที่สุด ทั้งบาดเจ็บ และอาจสูญเสียอวัยวะสำคัญซึ่งบางรายรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดหรือนิ้วมือขาดได้

จากข้อมูลการวิเคราะห์รายงานการบาดเจ็บจากการเล่นประทัด จากโรงพยาบาลทุกแห่งใน จ.ยะลา ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2560 พบผู้บาดเจ็บ จำนวน 18 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 15 ราย เพศหญิง จำนวน 3 ราย เป็นผู้บาดเจ็บจาก อ.เมือง ยะหา รามัน กาบัง กรงปินัง และ อ.บันนังสตา โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี จำนวน 4 ราย อายุ 7-12 ปี จำนวน 9 ราย อายุ 13-19 ปี จำนวน 4 ราย และอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 1 ราย ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่มือ (15 ราย) ใบหน้า (2 ราย) และหูอื้อ (1 ราย) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ พบต้องส่งรักษาต่อโรงพยาบาลยะลา จำนวน 6 ราย ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 2 ราย และบาดเจ็บเล็กน้อยรักษาพยาบาลแล้วกลับบ้านได้ จำนวน 15 ราย

นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นประทัด โดยในกลุ่มเด็ก และเยาวชน คือ ห้ามให้เด็กๆ จุดประทัด และดอกไม้ไฟเองโดยเด็ดขาด ไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่จุดประทัด พลุ หรือดอกไม้ไฟ ผู้ปกครอง และครูต้องสอนให้เด็กรู้ว่าประทัด พลุ ดอกไม้ไฟไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับเด็ก เช่น อาจทำให้ตาบอด นิ้วขาดกลายเป็นคนพิการ และสอนไม่ให้เด็กเก็บประทัด พลุ ดอกไม้ไฟที่จุดแล้วไม่ระเบิดมาเล่น เพราะอาจจะระเบิดโดยไม่คาดคิด ผู้ปกครองควรดูแล และให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลและเด็กต้องได้รับการฝึกทักษะการหนีเมื่อเผชิญสถานการณ์อันตราย

“ในส่วนของผู้ใหญ่เองควรมีมาตรการป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงการเล่นประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ก่อนเล่นควรอ่านฉลาก วิธีใช้คำเตือน และก่อนจุดควรมองรอบข้างให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใดอยู่บริเวณนั้น เล่นในที่โล่ง ราบ ห่างไกลจากบ้านเรือน ใบไม้แห้ง วัตถุไวไฟ ห้ามเล่นประทัด พลุ ดอกไม้ไฟที่ซื้อจากร้านค้าไม่น่าเชื่อถือ สินค้าอยู่ในสภาพเก่า ไม่สมบูรณ์ ห้ามจุดประทัด พลุ ดอกไม้ไฟที่เสื่อมสภาพ หรือที่ถูกจุดแล้วแต่ยังไม่ระเบิด อย่าให้ใบหน้าอยู่เหนือพลุ และดอกไม้ไฟ ก่อนจุดควรเตรียมถังใส่น้ำใกล้ๆ ห้ามจุดหากไม่อยู่ในระยะที่ปลอดภัย คือ 1 เมตร หรือ 1 ช่วงแขน และห้ามประกอบ หรือดัดแปลงประทัด พลุ หรือดอกไม้ไฟไว้เล่นเองเด็ดขาด” นพ.ชัยวัฒน์ กล่าว

นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผู้ปกครอง และประชาชนควรรู้จักวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการสื่อสารกับหน่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ (1669) รวมทั้งวิธีการส่งต่อเด็กในภาวะฉุกเฉินไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียง เพื่อลดการบาดเจ็บรุนแรง ความพิการ และการเสียชีวิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1422

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000061436 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 16 มิ.ย.60
วันที่โพสต์: 23/06/2560 เวลา 10:54:42 ดูภาพสไลด์โชว์ สสจ.ยะลาเตือนภัย! เด็ก-เยาวชนเล่นประทัดอันตรายถึงมือขาด ตาบอด และอาจเสียชีวิตได้

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ยะลา - รักษาราชการแทนนายแพทย์ สสจ.ยะลา เตือนภัย! เด็ก และเยาวชนเล่นประทัดอันตรายถึงมือขาด ตาบอด และอาจเสียชีวิตได้ หลังพบว่าช่วงเทศกาลถือศีลอด มีผู้บาดเจ็บจากเหตุเล่นประทัดแล้ว 18 รายและบาดเจ็บถึงขั้นรุนแรง6ราย นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา วันที่ (16 มิ.ย.) ที่อาคารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน รักษาราชการแทนนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และใกล้เทศกาลวันรายอปอซอ ร้านค้าจะนำประทัด พลุ ดอกไม้ไฟมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก ทำให้เด็ก และเยาวชนสามารถหาซื้อสิ่งเหล่านี้ได้ง่าย และมีการเล่นประทัดเพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง และที่น่าเป็นห่วง คือ ซื้อมาเล่นโดยขาดความระมัดระวัง และเกิดอุบัติเหตุจากประทัดมากที่สุด ทั้งบาดเจ็บ และอาจสูญเสียอวัยวะสำคัญซึ่งบางรายรุนแรงถึงขั้นทำให้ตาบอดหรือนิ้วมือขาดได้ จากข้อมูลการวิเคราะห์รายงานการบาดเจ็บจากการเล่นประทัด จากโรงพยาบาลทุกแห่งใน จ.ยะลา ระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม ถึงวันที่ 13 มิถุนายน 2560 พบผู้บาดเจ็บ จำนวน 18 ราย เป็นเพศชาย จำนวน 15 ราย เพศหญิง จำนวน 3 ราย เป็นผู้บาดเจ็บจาก อ.เมือง ยะหา รามัน กาบัง กรงปินัง และ อ.บันนังสตา โดยเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี จำนวน 4 ราย อายุ 7-12 ปี จำนวน 9 ราย อายุ 13-19 ปี จำนวน 4 ราย และอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 1 ราย ส่วนใหญ่บาดเจ็บที่มือ (15 ราย) ใบหน้า (2 ราย) และหูอื้อ (1 ราย) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ พบต้องส่งรักษาต่อโรงพยาบาลยะลา จำนวน 6 ราย ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 2 ราย และบาดเจ็บเล็กน้อยรักษาพยาบาลแล้วกลับบ้านได้ จำนวน 15 ราย นพ.ชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ ยังกล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นประทัด โดยในกลุ่มเด็ก และเยาวชน คือ ห้ามให้เด็กๆ จุดประทัด และดอกไม้ไฟเองโดยเด็ดขาด ไม่ควรให้เด็กอยู่ใกล้บริเวณที่จุดประทัด พลุ หรือดอกไม้ไฟ ผู้ปกครอง และครูต้องสอนให้เด็กรู้ว่าประทัด พลุ ดอกไม้ไฟไม่ใช่ของเล่น แต่เป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับเด็ก เช่น อาจทำให้ตาบอด นิ้วขาดกลายเป็นคนพิการ และสอนไม่ให้เด็กเก็บประทัด พลุ ดอกไม้ไฟที่จุดแล้วไม่ระเบิดมาเล่น เพราะอาจจะระเบิดโดยไม่คาดคิด ผู้ปกครองควรดูแล และให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลและเด็กต้องได้รับการฝึกทักษะการหนีเมื่อเผชิญสถานการณ์อันตราย “ในส่วนของผู้ใหญ่เองควรมีมาตรการป้องกัน คือ หลีกเลี่ยงการเล่นประทัด พลุ ดอกไม้ไฟ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก ก่อนเล่นควรอ่านฉลาก วิธีใช้คำเตือน และก่อนจุดควรมองรอบข้างให้แน่ใจว่าไม่มีผู้ใดอยู่บริเวณนั้น เล่นในที่โล่ง ราบ ห่างไกลจากบ้านเรือน ใบไม้แห้ง วัตถุไวไฟ ห้ามเล่นประทัด พลุ ดอกไม้ไฟที่ซื้อจากร้านค้าไม่น่าเชื่อถือ สินค้าอยู่ในสภาพเก่า ไม่สมบูรณ์ ห้ามจุดประทัด พลุ ดอกไม้ไฟที่เสื่อมสภาพ หรือที่ถูกจุดแล้วแต่ยังไม่ระเบิด อย่าให้ใบหน้าอยู่เหนือพลุ และดอกไม้ไฟ ก่อนจุดควรเตรียมถังใส่น้ำใกล้ๆ ห้ามจุดหากไม่อยู่ในระยะที่ปลอดภัย คือ 1 เมตร หรือ 1 ช่วงแขน และห้ามประกอบ หรือดัดแปลงประทัด พลุ หรือดอกไม้ไฟไว้เล่นเองเด็ดขาด” นพ.ชัยวัฒน์ กล่าว นายแพทย์เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน ยังกล่าวอีกว่า สำหรับผู้ปกครอง และประชาชนควรรู้จักวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการสื่อสารกับหน่วยฉุกเฉินทางการแพทย์ (1669) รวมทั้งวิธีการส่งต่อเด็กในภาวะฉุกเฉินไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียง เพื่อลดการบาดเจ็บรุนแรง ความพิการ และการเสียชีวิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1422 ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000061436

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...