‘เดอะดาวน์’เป็นคนธรรมดามันง่ายไป

แสดงความคิดเห็น

โปสเตอร์หนัง ‘เดอะดาวน์’เป็นคนธรรมดามันง่ายไป

ชื่อตอนวันนี้ตรงกับภาพยนตร์สร้างสรรค์สังคมเรื่องนึงที่กำลังจะเข้าฉายครับ ...ได้คุยกับคนสร้างหนังเรื่องนี้แล้วบอกตรง ๆ ถ้าไม่พูดถึงเรื่องนี้ผมคงเสียใจที่ไม่ได้ใช้หน้ากระดาษที่มีคุณค่าในหน้าสื่อ ในการพูดถึงสิ่งสวยงามที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้ในสังคมไทย

หลายคนคงได้เห็นโปสเตอร์หนัง ที่มีน้อง ๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรมห้าคนมาเป็นตัวเอก...พวกน้องไม่ใช่ดาราดัง ไม่ใช่นักแสดงที่มีหน้าตาดี ไม่ใช่เซเลบที่มีโพรไฟล์ดี แต่...จะเป็นหนังที่สร้างสิ่งดี ๆ ให้สังคม “เดอะดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป”

พี่โหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร อะเดย์ สื่อเด็กแนวเชิงสร้างสรรค์ บอกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากการที่เห็นชีวิตของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรม ในอิตาลีใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ ในขณะที่แตกต่างจากบ้านเราที่มีคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมจำนวนหลักเป็นแสน แต่เรากลับไม่ค่อยเห็นพวกเขา

สาเหตุเบื้องหลังคือ การที่ในอิตาลีนั้น องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีวิธีทำงานที่ดีเยี่ยม และสำคัญเหนืออื่นใดคือ ผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรม มีทัศนคติที่แตกต่างจากบ้านเรา ตรงที่ไม่เห็น สมาชิกในครอบครัวที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นเป็นสิ่งแปลกแยก และน่าอับอาย คนทั่วไปในสังคม มิได้มองบุคคลเหล่านี้ด้วยสายตาที่แปลกแยก คลางแคลงใจ แต่มองว่าทุกคนเหมือนกัน เพียงแต่กายภาพเท่านั้นที่แตกต่าง

หนังเรื่องนี้น่าที่จะช่วยกระตุ้นให้คนในสังคมได้เข้าใจถึงคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมว่าจริง ๆ แล้วคือคนเหมือนกับพวกเราในสังคมที่อาจจะมีความแตกต่าง แต่พวกเขาควรที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างปกติ เริ่มต้นจากสมาชิกในครอบ ครัวของพวกเขา และสังคมโดยรวม...

เราต้องยอมรับว่าสังคมของเรานั้นคงด้วยความที่เราอาจจะไม่ได้เห็นคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมออกมาใช้ชีวิตเหมือนกับเรา ๆ สักเท่าไหร่ เมื่อได้เห็นอาจจะตั้งคำถาม หรือมองด้วยสายตาที่ไม่ปกติสักเท่าไหร่ ที่แน่นอนว่าสร้างผลสะท้อนให้กับจิตใจของสมาชิกในครอบครัวของเขา และตัวของน้อง ๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรมเองด้วย

ในสังคมไทยเรานั้น แม้ว่าเราพยายามสร้างค่านิยมว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่านิยมที่ฝังลึกของพวกเรา อคติที่พวกเรามีอยู่ลึก ๆ แม้ว่าบางทีได้แสดงออกมาผ่านคำพูด แต่ท่าทีที่พวกเรามี เราไม่ได้ตัดสินคนอย่างเท่าเทียมกันจริง ๆ และเราไม่ได้ตัดสินคนด้วยพฤติกรรมของคน แต่บางทีเรา “ตีตรา” บุคคลที่แตกต่างจากพวกเรา และให้ค่าพวกเขาน้อยกว่าที่พวกเขาเป็น

อย่างในกรณีนี้ ต้องยอมรับว่า แม้ว่า น้อง ๆ ที่เป็นดาวน์อาจจะแตกต่าง แต่พวกเขาไม่เบียดเบียนสังคม ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ได้สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับคนที่บางทีมีความเพียบพร้อมทางกายภาพ แต่ที่สุดสังคมมองเขาต่างออกไป ลองมาดูหนังดี ๆ เรื่องนี้ แล้วหันมามองตนเองว่า แล้วท่าทีของพวกเราต่อเขาเป็นอย่างไร แล้วหนังเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงเราไปอย่างไรบ้างนะครับ.ดร.วิทย์สิทธิเวคิน“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/352603 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 ต.ค.58
วันที่โพสต์: 8/10/2558 เวลา 11:43:07 ดูภาพสไลด์โชว์ ‘เดอะดาวน์’เป็นคนธรรมดามันง่ายไป

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

โปสเตอร์หนัง ‘เดอะดาวน์’เป็นคนธรรมดามันง่ายไป ชื่อตอนวันนี้ตรงกับภาพยนตร์สร้างสรรค์สังคมเรื่องนึงที่กำลังจะเข้าฉายครับ ...ได้คุยกับคนสร้างหนังเรื่องนี้แล้วบอกตรง ๆ ถ้าไม่พูดถึงเรื่องนี้ผมคงเสียใจที่ไม่ได้ใช้หน้ากระดาษที่มีคุณค่าในหน้าสื่อ ในการพูดถึงสิ่งสวยงามที่ถูกซุกซ่อนเอาไว้ในสังคมไทย หลายคนคงได้เห็นโปสเตอร์หนัง ที่มีน้อง ๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรมห้าคนมาเป็นตัวเอก...พวกน้องไม่ใช่ดาราดัง ไม่ใช่นักแสดงที่มีหน้าตาดี ไม่ใช่เซเลบที่มีโพรไฟล์ดี แต่...จะเป็นหนังที่สร้างสิ่งดี ๆ ให้สังคม “เดอะดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป” พี่โหน่ง วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์ ผู้ก่อตั้งนิตยสาร อะเดย์ สื่อเด็กแนวเชิงสร้างสรรค์ บอกว่าได้รับแรงบันดาลใจจากการที่เห็นชีวิตของผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรม ในอิตาลีใช้ชีวิตเหมือนคนปกติ ในขณะที่แตกต่างจากบ้านเราที่มีคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมจำนวนหลักเป็นแสน แต่เรากลับไม่ค่อยเห็นพวกเขา สาเหตุเบื้องหลังคือ การที่ในอิตาลีนั้น องค์กรที่ให้ความช่วยเหลือคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นมีวิธีทำงานที่ดีเยี่ยม และสำคัญเหนืออื่นใดคือ ผู้ปกครองของเด็ก ๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรม มีทัศนคติที่แตกต่างจากบ้านเรา ตรงที่ไม่เห็น สมาชิกในครอบครัวที่เป็นดาวน์ซินโดรมนั้นเป็นสิ่งแปลกแยก และน่าอับอาย คนทั่วไปในสังคม มิได้มองบุคคลเหล่านี้ด้วยสายตาที่แปลกแยก คลางแคลงใจ แต่มองว่าทุกคนเหมือนกัน เพียงแต่กายภาพเท่านั้นที่แตกต่าง หนังเรื่องนี้น่าที่จะช่วยกระตุ้นให้คนในสังคมได้เข้าใจถึงคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมว่าจริง ๆ แล้วคือคนเหมือนกับพวกเราในสังคมที่อาจจะมีความแตกต่าง แต่พวกเขาควรที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างปกติ เริ่มต้นจากสมาชิกในครอบ ครัวของพวกเขา และสังคมโดยรวม... เราต้องยอมรับว่าสังคมของเรานั้นคงด้วยความที่เราอาจจะไม่ได้เห็นคนที่เป็นดาวน์ซินโดรมออกมาใช้ชีวิตเหมือนกับเรา ๆ สักเท่าไหร่ เมื่อได้เห็นอาจจะตั้งคำถาม หรือมองด้วยสายตาที่ไม่ปกติสักเท่าไหร่ ที่แน่นอนว่าสร้างผลสะท้อนให้กับจิตใจของสมาชิกในครอบครัวของเขา และตัวของน้อง ๆ ที่เป็นดาวน์ซินโดรมเองด้วย ในสังคมไทยเรานั้น แม้ว่าเราพยายามสร้างค่านิยมว่าคนทุกคนเท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่านิยมที่ฝังลึกของพวกเรา อคติที่พวกเรามีอยู่ลึก ๆ แม้ว่าบางทีได้แสดงออกมาผ่านคำพูด แต่ท่าทีที่พวกเรามี เราไม่ได้ตัดสินคนอย่างเท่าเทียมกันจริง ๆ และเราไม่ได้ตัดสินคนด้วยพฤติกรรมของคน แต่บางทีเรา “ตีตรา” บุคคลที่แตกต่างจากพวกเรา และให้ค่าพวกเขาน้อยกว่าที่พวกเขาเป็น อย่างในกรณีนี้ ต้องยอมรับว่า แม้ว่า น้อง ๆ ที่เป็นดาวน์อาจจะแตกต่าง แต่พวกเขาไม่เบียดเบียนสังคม ไม่เบียดเบียนคนอื่น ไม่ได้สร้างความเดือดเนื้อร้อนใจให้กับคนที่บางทีมีความเพียบพร้อมทางกายภาพ แต่ที่สุดสังคมมองเขาต่างออกไป ลองมาดูหนังดี ๆ เรื่องนี้ แล้วหันมามองตนเองว่า แล้วท่าทีของพวกเราต่อเขาเป็นอย่างไร แล้วหนังเรื่องนี้เปลี่ยนแปลงเราไปอย่างไรบ้างนะครับ.ดร.วิทย์สิทธิเวคิน“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/352603

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...