ข้อเท็จจริงปัญหา “เด็กหัวเล็ก” ทั่วโลกและไทย

แสดงความคิดเห็น

Microcephaly ไมโครเซฟาลี (ศีรษะเล็ก)

Microcephaly ไมโครเซฟาลี (ศีรษะเล็ก) คือ ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ของทารก ที่หมายถึงการที่ทารกมีศีรษะเล็กกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกคนอื่น ๆ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่คลอดเมื่ออายุครรภ์เท่า ๆ กัน ร่วมกับมีการเจริญเติบโตของสมองที่เลวกว่าคนอื่น ๆ ทารกที่คลอดออกมา อาจเจริญเติบโตต่อไปเป็นเด็กที่มีความพิการ มีความผิดปกติต่าง ๆ มีความรุนแรงผันแปรได้ตั้งแต่มีความผิดปกติอ่อน ๆ จนถึงรุนแรงมากก็ได้

สภาพของปัญหา ไมโครเซฟาลี เป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย อุบัติการณ์ของไมโครเซฟาลีจึงคาดประมาณได้ยาก เพราะมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ และกลุ่มประชากรเป้าหมาย แม้ว่า ยังไม่ได้พิสูจน์ขั้นสุดทายแล้วอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม นักวิจัยยังทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาศักยภาพของความเชื่อมโยงเกี่ยวพันระหว่างการปรากฏของผู้ป่วยที่มีภาวะไมโครเซฟาลีกับภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา ๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ประเทศบราซิลรายงานว่า มีผู้ป่วยมีไข้ออกผื่นในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บราซิล พบผู้ป่วยสงสัยไข้ซิกาประปรายมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๖/๕๗ แล้ว แต่ได้รายงานผู้ป่วยชันสูตรยืนยันไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อกลางเดือนตุลาคม๒๕๕๘

ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ก่อนรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก บราซิลเริ่มพบอุบัติการณ์ไมโครเซฟาลีแล้วและ

ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ก็มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าจะมีปัญหาไมโครเซฟาลี หรือมีปัญหาทางระบบประสาทแล้วรวม๖,๔๘๐ราย

ซึ่งเมื่อก่อนปีหนึ่ง ๆ อย่างมากในบราซิลจะเจอไมโครเซฟาลีไม่ถึง ๒๐๐ คน แต่นี่เพียงปีเดียว เพิ่มพรวดพราดสูงขึ้นกว่า๓๐เท่าตัว

๒๕๕๙ รายงานไมโครเซฟาลีสัปดาห์ที่ ๖ วันที่ ๘ - วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

บราซิล จำนวนไมโครเซฟาลี จำนวนรวมสะสม ๒๕๕๘-๕๙ หรือความพิการอื่นๆ ที่น่าจะเกิดตั้งแต่ แรก อยู่หว่างการศึกษา ๓๙๓๕ ยืนยัน ๕๐๘ คัดออก ๘๓๗ รวมสะสม ๕๒๘๐ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙

กระทรวงสาธารณสุขบราซิลยืนยันว่ามีทารกพิการศีรษะเล็กแต่กำเนิดทั่วประเทศ ที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันแล้วถึงวันนี้ ๙๔๔ ราย และกำลังดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมอีก ๔,๒๙๑ ราย

๑๐.๓๐ น. ๕ เมษายน ๒๕๕๙ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดอุดรธานี มีการบรรยายเรื่องนี้ให้แก่บุคลากรทางแพทย์ในจังหวัดนั้นและจังหวัดใกล้เคียง กรรมการราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ท่านหนึ่งท่านไปบรรยายร่วมต่อจากผม บรรยายต่อหน้าผม ว่าท่านไม่เชื่อเรื่องไมโครเซฟลีเกิดจากตืดเชื้อซิกา..... ท่านว่ามั่ว วาสารมาตรฐานนานาชาติที่เสนอรายงานก็มั่ว

๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ USCDC analysis concludes Zika causes microcephaly.

ผู้อำนวยการซีดีซี นายแพทย์ ทอม ฟรีเด็น ประกาศยืนยันว่า ไมโครเซฟาลีเกิดจากหญิงมีครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์

ท่านกล่าวว่า หลังจากได้ปริทัศน์ทบทวนกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ อย่างมากมายแล้ว ได้แถลงข่าวถึง ความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคสหรัฐฯ ได้สรุปแล้วว่าภาวะติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นเหตุก่อความพิการแต่กำเนิด“ไมโครเซฟาลี”อย่างแน่นอน

การวินิจฉัย อาจให้กายวินิจฉัยได้ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยการทำอัลตราซาวนด์ โอกาสจะเห็นความผิดปกติได้ ก็เมื่อปลายการตั้งครรภ์อายุครรภปลายไตรมาสที่ ๒ หรือประมาณอายุครรภ์สัปดาห์ที่ ๒๘ และกำลังจะเข้าสู่อายุครรภ์ไตรมาสที่๓

การวินิจฉัยจะทำได้แม่นยำกว่าในทารกแรกคลอดมาแล้ว หรือขณะอายุมากขึ้น ทารกมีพัฒนาการมากขึ้น การวัดรอบวงศีรษะภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังคลอดแล้วนำไปเปรียบเทียบกับตารางเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก

การแปลผลจะต้องคำนึงถึง ปัจจัยที่สำคัญคือ อายุครรภ์ทีคลอด น้ำหนักและส่วนสูงของทารก ในรายที่เข้าข่ายสงสัย ควรได้รับการทบทวนตรวจสอบ จากกุมารแพทย์ ทารกต้องได้รับการ “สแกนสมอง” ได้รับการวัดเส้นรอบศีรษะ เป็นระยะ ๆ ทุก ๑ เดือน ในช่วงที่ทารกอายุยังน้อยแล้วนำไปเทียบกับตารางมาตรฐาน แพทย์จะต้องทำการทดสอบ หาเหตุอื่น ๆ ที่อาจก่อไมโครเซฟาลีด้วย เพื่อตัดเหตุอื่นออกไป (เช่นเหตุทางพันธุกรรม เหตูจากการติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย)

สาเหตุของไมโครเซฟาลี ยังมีเหตุอีกมากมายหลายประการ ที่อาจมีศักยภาพก่อไมโครเซฟาลีได้ แต่ก็มีอีกหลายเหตุที่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอยู่อีกเหมือนกัน เหตุที่ทราบกันดีอยู่แล้วได้แก่ ภาวะติดเชื้อของทารกในมดลูก ท็อกโซพลาสโมสิส (โรคขี้แมว อาจพบเชื้อปาราสิตก่อโรคขี้แมวในเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ)

โรคหัดเยอรมัน หรือ รูเบลล่า ไวรัสเริม (ไวรัสเฮอร์ปีส) เชื้อซิฟิลิส ไวรัสซัยโตเมกะโลไวรัส และ ไวรัสเอ็ชไอวี การที่ได้สัมผัสกับสารพิษสารเคมี มารดาสัมผัสกับสารโลหะหนัก เช่น สารหนู และสารปรอท (อาร์เซนิค และเมอร์คิวรี) แอลกอฮอล์ (มารดาขี้เมาระหว่างมีครรภ์ รังสีต่าง ๆ และการสูบบุหรี่ ภาวะทางด้านพันธุกรรม การขาดสารอาหารอย่างรุนแรงขณะมีครรภ์อายุครรภ์น้อย

อาการและอาการแสดง ทารกที่เกิดมามีไมโครเซฟาลี อาจไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรเลยในตอนแรกเกิด แต่จะมีอาการชักกระตุกเป็นการต่อเนื่อง, มีซีรีบัล พัลซี : (อาการอัมพาตจากสมองผิดปกติ) มีความผิดปกติในการเรียนรู้ หูหนวก และมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีบางราย เด็กที่มีภาวะไมโครเซฟาลี อาจจะเติบโตต่อไปได้ตามปกติการดูแล

อัตราอุบัติการณ์เกิดไมโครเซฟาลี ตัวเลขในขณะนี้ คิดได้มีความผันแปรกว้างขวางมาก คือ ตั้งแต่๑%ถึง๓๐%เมื่อมีผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นการวิเคราะห์ในระยะหลังอัตรานี้ก็จะเปลี่ยนไป

กระทรวงสาธารณสุขไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ ว่า ได้กำลังติดตามหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ ๓๐ รายด้วยกัน ถ้ายึดเอาตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์ ก็เป็นทีคาดเดาได้ว่าในวันข้าหน้า ประเทศไทยมีโอกาสจะได้รายงานผู้ป่วยไมโครเซฟาลีในทารกแรกเกิดจำนวนมากที่สุด ไม่เกิน ๙ คน และไม่น้อยกว่า ๓ คน

การรักษาบริบาล ไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะสำหรับทารกและเด็กที่มีภาวะไมโครเซฟาลี ในการประเมินและรักษาเด็กไมโครเซฟาลี ที่สำคัญก็คือ ให้มีคณะแพทย์หลายสาขาวิชาเข้ามาร่วมมือกัน การดำเนินการดูแลบริบาลตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยการกระตุ้น อาจมีผลที่สำคัญ ต่อการพัฒนาการเติบโต การให้คำปรึกษาหารือและเกื้อหนุนให้แก่ครอบครัวให้แก่พ่อ-มีเด็กย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

การสนองตอบขององค์การอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก กำลังดำเนินการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่ได้รับผลกระทบในทวีปอเมริกา ในการสอบค้น ของการระบาดมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว โดยได้วางกรอบยุทธศาสตร์ในการโต้ตอบสนองและมีแผนการดำเนินการร่วมอยู่ด้วย สื่อสารกับประชาชนในชุมชนที่มีโรคระบาดให้รูจักวิธีป้องกันตัวเอง ดำเนินการจัดให้มีแนวทางในการดำเนินการหรือ ไกด์ไลน์สำหรับการดำเนินการให้คำแนะนำสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงมีครรภ์ถึงศักยภาพของผลกระทบต่าง ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกาให้แก่ ครอบครัว ให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังไห้รับผลกระทบ ให้เพิ่มความเข้มแข็งในการดูแลหญิงมีครรภ์ และครอบครัวของเด็กที่คลอดออกมามีไมโครเซฟาลี ดำเนินกรสอบค้นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยไมโครเซฟาลี และความเชื่อมโยงเกียวพัน ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา โดยการนำเอาผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆและผู้เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือร่วมกันด้วย

ปัญหาของประเทศไทย ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ตั้งใจศึกษาเรื่องไมโครเซฟาลีอย่างจริงจัง สูติแพทย์ทั่วประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีเวช แห่งประเทศไทย ยังไม่มีไก๊ด์ไลน์อะไรที่จะปฏิบัติตามให้เป็นมาตรฐานอันเดียวกัน กรรมการราชวิทยาลัยท่านหนึ่งได้รับเชิญไปบรรยายให้บุคลากรทางแพทย์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ ที่โรงแรมรามาการ์เด้น ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าไมโครเซฟาลี เกิดจากภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา ผมสับสนและมีความรู้สึกวังเวงว่าวันนี้อาจยังมีผู้สงสัยว่าโลกไม่ได้กลมโลกมันแบนอยู่อีกหรือ สำหรับอนาคตผู้ที่จะต้องรับภาระเลี้ยงดูกับทารกเด็กพิการเหล่านั้นน่าสงสารอนาคตประเทศไทยครับโถประเทศไทยน่าวังเวงครับ

ปล.บทความต่อไปนี้ ส่วนหนึ่งผมถอดความมาจากเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไมโครเซฟาลี หรือภาวะศีรษะเล็ก เอกสารขององค์การอนามัยโลก (WHO: Microcephaly 2March 2016 Fact sheet Updated 2 March 2016) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ ผนวกกับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ผมเก็บรวบรวมเอาไว้

ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000097214 (ขนาดไฟล์: 164)

ที่มา: manager.co.thออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๒๗ ก.ย.๕๙
วันที่โพสต์: 30/09/2559 เวลา 11:43:14 ดูภาพสไลด์โชว์ ข้อเท็จจริงปัญหา “เด็กหัวเล็ก” ทั่วโลกและไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

Microcephaly ไมโครเซฟาลี (ศีรษะเล็ก) Microcephaly ไมโครเซฟาลี (ศีรษะเล็ก) คือ ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ของทารก ที่หมายถึงการที่ทารกมีศีรษะเล็กกว่าปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับทารกคนอื่น ๆ ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ที่คลอดเมื่ออายุครรภ์เท่า ๆ กัน ร่วมกับมีการเจริญเติบโตของสมองที่เลวกว่าคนอื่น ๆ ทารกที่คลอดออกมา อาจเจริญเติบโตต่อไปเป็นเด็กที่มีความพิการ มีความผิดปกติต่าง ๆ มีความรุนแรงผันแปรได้ตั้งแต่มีความผิดปกติอ่อน ๆ จนถึงรุนแรงมากก็ได้ สภาพของปัญหา ไมโครเซฟาลี เป็นความผิดปกติที่พบได้น้อย อุบัติการณ์ของไมโครเซฟาลีจึงคาดประมาณได้ยาก เพราะมีความแตกต่างกันอย่างกว้างขวาง ขึ้นอยู่กับคำจำกัดความ และกลุ่มประชากรเป้าหมาย แม้ว่า ยังไม่ได้พิสูจน์ขั้นสุดทายแล้วอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม นักวิจัยยังทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อหาศักยภาพของความเชื่อมโยงเกี่ยวพันระหว่างการปรากฏของผู้ป่วยที่มีภาวะไมโครเซฟาลีกับภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา ๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ประเทศบราซิลรายงานว่า มีผู้ป่วยมีไข้ออกผื่นในรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ • บราซิล พบผู้ป่วยสงสัยไข้ซิกาประปรายมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๖/๕๗ แล้ว แต่ได้รายงานผู้ป่วยชันสูตรยืนยันไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อกลางเดือนตุลาคม๒๕๕๘ • ตั้งแต่วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗ ก่อนรายงานไปยังองค์การอนามัยโลก บราซิลเริ่มพบอุบัติการณ์ไมโครเซฟาลีแล้วและ • ในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ก็มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่สงสัยว่าจะมีปัญหาไมโครเซฟาลี หรือมีปัญหาทางระบบประสาทแล้วรวม๖,๔๘๐ราย ซึ่งเมื่อก่อนปีหนึ่ง ๆ อย่างมากในบราซิลจะเจอไมโครเซฟาลีไม่ถึง ๒๐๐ คน แต่นี่เพียงปีเดียว เพิ่มพรวดพราดสูงขึ้นกว่า๓๐เท่าตัว ๒๕๕๙ รายงานไมโครเซฟาลีสัปดาห์ที่ ๖ วันที่ ๘ - วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ บราซิล จำนวนไมโครเซฟาลี จำนวนรวมสะสม ๒๕๕๘-๕๙ หรือความพิการอื่นๆ ที่น่าจะเกิดตั้งแต่ แรก อยู่หว่างการศึกษา ๓๙๓๕ ยืนยัน ๕๐๘ คัดออก ๘๓๗ รวมสะสม ๕๒๘๐ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๙ • กระทรวงสาธารณสุขบราซิลยืนยันว่ามีทารกพิการศีรษะเล็กแต่กำเนิดทั่วประเทศ ที่ได้รับการพิสูจน์ยืนยันแล้วถึงวันนี้ ๙๔๔ ราย และกำลังดำเนินการสอบสวนเพิ่มเติมอีก ๔,๒๙๑ ราย • ๑๐.๓๐ น. ๕ เมษายน ๒๕๕๙ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดอุดรธานี มีการบรรยายเรื่องนี้ให้แก่บุคลากรทางแพทย์ในจังหวัดนั้นและจังหวัดใกล้เคียง กรรมการราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ท่านหนึ่งท่านไปบรรยายร่วมต่อจากผม บรรยายต่อหน้าผม ว่าท่านไม่เชื่อเรื่องไมโครเซฟลีเกิดจากตืดเชื้อซิกา..... ท่านว่ามั่ว วาสารมาตรฐานนานาชาติที่เสนอรายงานก็มั่ว • ๑๓ เมษายน ๒๕๕๙ USCDC analysis concludes Zika causes microcephaly. • ผู้อำนวยการซีดีซี นายแพทย์ ทอม ฟรีเด็น ประกาศยืนยันว่า ไมโครเซฟาลีเกิดจากหญิงมีครรภ์ติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างตั้งครรภ์ • ท่านกล่าวว่า หลังจากได้ปริทัศน์ทบทวนกับบรรดาผู้เชี่ยวชาญอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ อย่างมากมายแล้ว ได้แถลงข่าวถึง ความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ป้องกันควบคุมโรคสหรัฐฯ ได้สรุปแล้วว่าภาวะติดเชื้อไวรัสซิกาเป็นเหตุก่อความพิการแต่กำเนิด“ไมโครเซฟาลี”อย่างแน่นอน การวินิจฉัย อาจให้กายวินิจฉัยได้ ตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ โดยการทำอัลตราซาวนด์ โอกาสจะเห็นความผิดปกติได้ ก็เมื่อปลายการตั้งครรภ์อายุครรภปลายไตรมาสที่ ๒ หรือประมาณอายุครรภ์สัปดาห์ที่ ๒๘ และกำลังจะเข้าสู่อายุครรภ์ไตรมาสที่๓ การวินิจฉัยจะทำได้แม่นยำกว่าในทารกแรกคลอดมาแล้ว หรือขณะอายุมากขึ้น ทารกมีพัฒนาการมากขึ้น การวัดรอบวงศีรษะภายใน ๒๔ ชั่วโมงหลังคลอดแล้วนำไปเปรียบเทียบกับตารางเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก การแปลผลจะต้องคำนึงถึง ปัจจัยที่สำคัญคือ อายุครรภ์ทีคลอด น้ำหนักและส่วนสูงของทารก ในรายที่เข้าข่ายสงสัย ควรได้รับการทบทวนตรวจสอบ จากกุมารแพทย์ ทารกต้องได้รับการ “สแกนสมอง” ได้รับการวัดเส้นรอบศีรษะ เป็นระยะ ๆ ทุก ๑ เดือน ในช่วงที่ทารกอายุยังน้อยแล้วนำไปเทียบกับตารางมาตรฐาน แพทย์จะต้องทำการทดสอบ หาเหตุอื่น ๆ ที่อาจก่อไมโครเซฟาลีด้วย เพื่อตัดเหตุอื่นออกไป (เช่นเหตุทางพันธุกรรม เหตูจากการติดเชื้ออีกหลายชนิดด้วย) สาเหตุของไมโครเซฟาลี ยังมีเหตุอีกมากมายหลายประการ ที่อาจมีศักยภาพก่อไมโครเซฟาลีได้ แต่ก็มีอีกหลายเหตุที่ยังไม่เป็นที่ทราบกันอยู่อีกเหมือนกัน เหตุที่ทราบกันดีอยู่แล้วได้แก่ ภาวะติดเชื้อของทารกในมดลูก ท็อกโซพลาสโมสิส (โรคขี้แมว อาจพบเชื้อปาราสิตก่อโรคขี้แมวในเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ) โรคหัดเยอรมัน หรือ รูเบลล่า ไวรัสเริม (ไวรัสเฮอร์ปีส) เชื้อซิฟิลิส ไวรัสซัยโตเมกะโลไวรัส และ ไวรัสเอ็ชไอวี การที่ได้สัมผัสกับสารพิษสารเคมี มารดาสัมผัสกับสารโลหะหนัก เช่น สารหนู และสารปรอท (อาร์เซนิค และเมอร์คิวรี) แอลกอฮอล์ (มารดาขี้เมาระหว่างมีครรภ์ รังสีต่าง ๆ และการสูบบุหรี่ ภาวะทางด้านพันธุกรรม การขาดสารอาหารอย่างรุนแรงขณะมีครรภ์อายุครรภ์น้อย อาการและอาการแสดง ทารกที่เกิดมามีไมโครเซฟาลี อาจไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรเลยในตอนแรกเกิด แต่จะมีอาการชักกระตุกเป็นการต่อเนื่อง, มีซีรีบัล พัลซี : (อาการอัมพาตจากสมองผิดปกติ) มีความผิดปกติในการเรียนรู้ หูหนวก และมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น มีบางราย เด็กที่มีภาวะไมโครเซฟาลี อาจจะเติบโตต่อไปได้ตามปกติการดูแล อัตราอุบัติการณ์เกิดไมโครเซฟาลี ตัวเลขในขณะนี้ คิดได้มีความผันแปรกว้างขวางมาก คือ ตั้งแต่๑%ถึง๓๐%เมื่อมีผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นการวิเคราะห์ในระยะหลังอัตรานี้ก็จะเปลี่ยนไป กระทรวงสาธารณสุขไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๙ ว่า ได้กำลังติดตามหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาอยู่ ๓๐ รายด้วยกัน ถ้ายึดเอาตัวเลขนี้เป็นเกณฑ์ ก็เป็นทีคาดเดาได้ว่าในวันข้าหน้า ประเทศไทยมีโอกาสจะได้รายงานผู้ป่วยไมโครเซฟาลีในทารกแรกเกิดจำนวนมากที่สุด ไม่เกิน ๙ คน และไม่น้อยกว่า ๓ คน การรักษาบริบาล ไม่มีวิธีการรักษาโดยเฉพาะสำหรับทารกและเด็กที่มีภาวะไมโครเซฟาลี ในการประเมินและรักษาเด็กไมโครเซฟาลี ที่สำคัญก็คือ ให้มีคณะแพทย์หลายสาขาวิชาเข้ามาร่วมมือกัน การดำเนินการดูแลบริบาลตั้งแต่ระยะแรกๆ ด้วยการกระตุ้น อาจมีผลที่สำคัญ ต่อการพัฒนาการเติบโต การให้คำปรึกษาหารือและเกื้อหนุนให้แก่ครอบครัวให้แก่พ่อ-มีเด็กย่อมมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด การสนองตอบขององค์การอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก กำลังดำเนินการปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิดกับประเทศที่ได้รับผลกระทบในทวีปอเมริกา ในการสอบค้น ของการระบาดมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ. ๒๕๕๘ แล้ว โดยได้วางกรอบยุทธศาสตร์ในการโต้ตอบสนองและมีแผนการดำเนินการร่วมอยู่ด้วย สื่อสารกับประชาชนในชุมชนที่มีโรคระบาดให้รูจักวิธีป้องกันตัวเอง ดำเนินการจัดให้มีแนวทางในการดำเนินการหรือ ไกด์ไลน์สำหรับการดำเนินการให้คำแนะนำสำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงมีครรภ์ถึงศักยภาพของผลกระทบต่าง ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกาให้แก่ ครอบครัว ให้ความช่วยเหลือ แก่ประเทศต่าง ๆ ที่กำลังไห้รับผลกระทบ ให้เพิ่มความเข้มแข็งในการดูแลหญิงมีครรภ์ และครอบครัวของเด็กที่คลอดออกมามีไมโครเซฟาลี ดำเนินกรสอบค้นการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยไมโครเซฟาลี และความเชื่อมโยงเกียวพัน ของภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา โดยการนำเอาผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆและผู้เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือร่วมกันด้วย ปัญหาของประเทศไทย ยังไม่มีหน่วยงานใดที่ตั้งใจศึกษาเรื่องไมโครเซฟาลีอย่างจริงจัง สูติแพทย์ทั่วประเทศซึ่งเป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยสูตินรีเวช แห่งประเทศไทย ยังไม่มีไก๊ด์ไลน์อะไรที่จะปฏิบัติตามให้เป็นมาตรฐานอันเดียวกัน กรรมการราชวิทยาลัยท่านหนึ่งได้รับเชิญไปบรรยายให้บุคลากรทางแพทย์เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๙ ที่โรงแรมรามาการ์เด้น ก็ยังไม่เชื่ออยู่ดีว่าไมโครเซฟาลี เกิดจากภาวะติดเชื้อไวรัสซิกา ผมสับสนและมีความรู้สึกวังเวงว่าวันนี้อาจยังมีผู้สงสัยว่าโลกไม่ได้กลมโลกมันแบนอยู่อีกหรือ สำหรับอนาคตผู้ที่จะต้องรับภาระเลี้ยงดูกับทารกเด็กพิการเหล่านั้นน่าสงสารอนาคตประเทศไทยครับโถประเทศไทยน่าวังเวงครับ ปล.บทความต่อไปนี้ ส่วนหนึ่งผมถอดความมาจากเอกสารข้อเท็จจริงเกี่ยวกับไมโครเซฟาลี หรือภาวะศีรษะเล็ก เอกสารขององค์การอนามัยโลก (WHO: Microcephaly 2March 2016 Fact sheet Updated 2 March 2016) ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๙ ผนวกกับองค์ความรู้จากแหล่งอื่น ๆ ที่ผมเก็บรวบรวมเอาไว้ ขอบคุณ... http://www.manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9590000097214

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...

ค้นหาข้อมูลในห้องสมุด