เทคนิคหลบ"ฟ้าผ่า"รับหน้ามรสุม!

แสดงความคิดเห็น

ดร.บุศราศิริ ธนะ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.บุศราศิริ ธนะ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยฟ้าผ่าในประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบัน ไทยและญี่ปุ่น มีความร่วมมือกันเพื่อเก็บข้อมูลฟ้าผ่า มีสถานีที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งจะส่งผลให้ในอนาคต ประเทศไทยสามารถระบุพื้นที่เสี่ยงในช่วงเวลาต่างๆ ในเบื้องต้นจากการศึกษาข้อมูลฟ้าผ่าช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่พบว่าไทยมีค่าเฉลี่ยความถี่ฟ้าผ่าเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

ข้อมูล ล่าสุดจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซ่า พบว่า ไทยมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวอยู่ที่ 15 ครั้งต่อตารางกิโลเมตรต่อปี ซึ่งถือว่าน้อย หากเทียบกับประเทศกลุ่มแอฟริกาที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 40ครั้งต่อตารางกิโลเมตรต่อปีเนื่องจากเป็นพื้นที่ราบและมีความร้อนสูง

ด้าน ดร.สธน วิจารณ์วรรณ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ กล่าวว่า ฟ้าผ่าเกิดจากการวิ่งเข้าหากันของประจุไฟฟ้าขั้วบวกที่พื้นดิน และประจุไฟฟ้าขั้วลบที่อยู่ในเมฆชั้นล่าง เมื่อเงื่อนไขความชื้นและความต่างศักย์เหมาะสม "อนุภาคอิเล็ก ตรอน" ซึ่งมีประจุลบในเมฆจะวิ่งลงมายังพื้นดิน พร้อมกับคายพลังงานออกมา ทำให้อากาศเกิดเป็นแสงสว่าง ตามมาด้วยเสียงกึกก้องกัมปนาท ซึ่งเป็นผลมาจากแรงอัดอากาศของพลังงานมหาศาล

ส่วนสาเหตุที่ แสงมาก่อนเสียง เพราะแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง 1 ล้านเท่า (3 แสนกิโลเมตรต่อวินาที) "ให้ นึกถึงเวลาเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟชอร์ตดังเปรี๊ยะ แสงที่เห็นคือฟ้าผ่าขนาดเล็ก และเสียงคือฟ้าร้องขนาดเล็ก หลักการเดียวกัน"ดร.สธนเปรียบเทียบให้เห็นภาพ

อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ ยังกล่าวถึงวิธีการป้องกันตัวจากการถูกฟ้าผ่าว่า ให้หาที่พักมิดชิด เช่น บ้าน หรือรถยนต์ ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง และ ไม่ควรไปแอบตามต้นไม้ใหญ่เดี่ยวๆ สูงๆ เด็ดขาด อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในป่า ให้หาพื้นที่ต่ำ และแอบใต้ต้นไม้ที่ไม่สูงมาก หากอยู่ที่โล่งแจ้ง ให้ทำตัวให้ราบกับพื้นมากที่สุด สัญญาณอันตราย ประกอบด้วย ขนลุก ผมตั้ง ให้รีบเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวทันที หากไม่ทันให้ขดตัวให้เล็กที่สุด รวมทั้งก้มหัวลงไประหว่างเข่าด้วย หาก เห็นฟ้าแลบ สามารถนับวินาทีได้ เพื่อหาจุดฟ้าผ่าคร่าวๆ เนื่องจากเสียงเดินทางด้วยความเร็ว 300 เมตรต่อวินาที และหากนับได้เพียง 1-2 วินาทีแปลว่า อยู่ในรัศมีไม่เกิน 300-600เมตรควรหนีออกจากพื้นที่นั้น

สิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาด คือ การว่ายน้ำขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากน้ำ (ที่ไม่บริสุทธิ์) เป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นดี และห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ควรปิดดีที่สุด เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนของประจุ พูดภาษาบ้านๆ คือ "เป็นตัวล่อเป้า" ตลอดจนหากมีเครื่องประดับโลหะก็ควรถอดเก็บด้วย "การ ที่เกิดฝนตกนั้น หากมองในภาพรวมแล้วก็ ส่งผลดีต่อบรรดาเกษตรกรที่จะต้องเริ่มออกไปทำนากันในช่วงนี้ แต่ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นคนในชนบท และชาวนา ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะต้องออกไปทำงานกลางแจ้ง หากได้รับความรู้ตรงนี้ ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง" ดร.สธน กล่าว สำหรับคน เมืองที่กลัวเดือดร้อนเรื่องน้ำท่วมนั้น ดร.สธนกล่าวว่า น่าจะมองไปที่ความสามารถในการระบายน้ำของกทม.มากกว่า เพราะไม่เห็นตัวเลขระบายน้ำกทม.เปลี่ยนมานานหลายปีแล้ว

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEU0TURZMU5nPT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB4T0E9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 19/06/2556 เวลา 04:10:20 ดูภาพสไลด์โชว์ เทคนิคหลบ"ฟ้าผ่า"รับหน้ามรสุม!

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ดร.บุศราศิริ ธนะ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.บุศราศิริ ธนะ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ศึกษาวิจัยฟ้าผ่าในประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบัน ไทยและญี่ปุ่น มีความร่วมมือกันเพื่อเก็บข้อมูลฟ้าผ่า มีสถานีที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งจะส่งผลให้ในอนาคต ประเทศไทยสามารถระบุพื้นที่เสี่ยงในช่วงเวลาต่างๆ ในเบื้องต้นจากการศึกษาข้อมูลฟ้าผ่าช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่พบว่าไทยมีค่าเฉลี่ยความถี่ฟ้าผ่าเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ข้อมูล ล่าสุดจากองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นาซ่า พบว่า ไทยมีค่าเฉลี่ยดังกล่าวอยู่ที่ 15 ครั้งต่อตารางกิโลเมตรต่อปี ซึ่งถือว่าน้อย หากเทียบกับประเทศกลุ่มแอฟริกาที่มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 40ครั้งต่อตารางกิโลเมตรต่อปีเนื่องจากเป็นพื้นที่ราบและมีความร้อนสูง ด้าน ดร.สธน วิจารณ์วรรณ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ กล่าวว่า ฟ้าผ่าเกิดจากการวิ่งเข้าหากันของประจุไฟฟ้าขั้วบวกที่พื้นดิน และประจุไฟฟ้าขั้วลบที่อยู่ในเมฆชั้นล่าง เมื่อเงื่อนไขความชื้นและความต่างศักย์เหมาะสม "อนุภาคอิเล็ก ตรอน" ซึ่งมีประจุลบในเมฆจะวิ่งลงมายังพื้นดิน พร้อมกับคายพลังงานออกมา ทำให้อากาศเกิดเป็นแสงสว่าง ตามมาด้วยเสียงกึกก้องกัมปนาท ซึ่งเป็นผลมาจากแรงอัดอากาศของพลังงานมหาศาล ส่วนสาเหตุที่ แสงมาก่อนเสียง เพราะแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง 1 ล้านเท่า (3 แสนกิโลเมตรต่อวินาที) "ให้ นึกถึงเวลาเสียบปลั๊กไฟแล้วไฟชอร์ตดังเปรี๊ยะ แสงที่เห็นคือฟ้าผ่าขนาดเล็ก และเสียงคือฟ้าร้องขนาดเล็ก หลักการเดียวกัน"ดร.สธนเปรียบเทียบให้เห็นภาพ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาฯ ยังกล่าวถึงวิธีการป้องกันตัวจากการถูกฟ้าผ่าว่า ให้หาที่พักมิดชิด เช่น บ้าน หรือรถยนต์ ขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง และ ไม่ควรไปแอบตามต้นไม้ใหญ่เดี่ยวๆ สูงๆ เด็ดขาด อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในป่า ให้หาพื้นที่ต่ำ และแอบใต้ต้นไม้ที่ไม่สูงมาก หากอยู่ที่โล่งแจ้ง ให้ทำตัวให้ราบกับพื้นมากที่สุด สัญญาณอันตราย ประกอบด้วย ขนลุก ผมตั้ง ให้รีบเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าวทันที หากไม่ทันให้ขดตัวให้เล็กที่สุด รวมทั้งก้มหัวลงไประหว่างเข่าด้วย หาก เห็นฟ้าแลบ สามารถนับวินาทีได้ เพื่อหาจุดฟ้าผ่าคร่าวๆ เนื่องจากเสียงเดินทางด้วยความเร็ว 300 เมตรต่อวินาที และหากนับได้เพียง 1-2 วินาทีแปลว่า อยู่ในรัศมีไม่เกิน 300-600เมตรควรหนีออกจากพื้นที่นั้น สิ่งที่ไม่ควรทำเด็ดขาด คือ การว่ายน้ำขณะเกิดฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากน้ำ (ที่ไม่บริสุทธิ์) เป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นดี และห้ามใช้อุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ควรปิดดีที่สุด เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนของประจุ พูดภาษาบ้านๆ คือ "เป็นตัวล่อเป้า" ตลอดจนหากมีเครื่องประดับโลหะก็ควรถอดเก็บด้วย "การ ที่เกิดฝนตกนั้น หากมองในภาพรวมแล้วก็ ส่งผลดีต่อบรรดาเกษตรกรที่จะต้องเริ่มออกไปทำนากันในช่วงนี้ แต่ผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นคนในชนบท และชาวนา ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง เพราะต้องออกไปทำงานกลางแจ้ง หากได้รับความรู้ตรงนี้ ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง" ดร.สธน กล่าว สำหรับคน เมืองที่กลัวเดือดร้อนเรื่องน้ำท่วมนั้น ดร.สธนกล่าวว่า น่าจะมองไปที่ความสามารถในการระบายน้ำของกทม.มากกว่า เพราะไม่เห็นตัวเลขระบายน้ำกทม.เปลี่ยนมานานหลายปีแล้ว ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNVEU0TURZMU5nPT0=§ionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE15MHdOaTB4T0E9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...