ภัยพิบัติ-ราคาที่ต้องจ่าย ยูเอ็นเผยตัวเลขพุ่งกระฉูด

แสดงความคิดเห็น

เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ

ช่วงนี้พายุโหมกระหน่ำทั้งซีกโลกตะวันตกและตะวันออก สร้างความเสียหายยับเยินไปพอๆ กัน

ไซโคลน "มหาเสน" ถล่มบ้านเรือนชาวบ้านในบังกลาเทศและพม่า พังเสียหายไปหลายหมื่นหลัง มีผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งร้อย

ส่วนในสหรัฐ พายุทอร์นาโดเพิ่งกวาดซัดพื้นที่ในรัฐโอกลาโฮมา คร่าชีวิตชาวอเมริกันไปครึ่งร้อยเช่นกัน ในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 20 ราย

ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทั้งสองเหตุการณ์ล้วนสร้างความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน

คณะทำงานว่าด้วยการลดความเสี่ยงอันเกิดจากภัยธรรมชาติขององค์การสหประชาชาติ (UNISDR) เพิ่งเปิดตัวเลขความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในศตวรรษใหม่นี้ไปถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72.5 ล้านล้านบาทแล้ว

เป็นมูลค่าสูงกว่าที่เคยประมาณกันไว้

การ สำรวจครั้งนี้ นายแอนดรูว์ มาสก์เรย์ ผู้สำรวจยืนยันว่า การเก็บข้อมูลที่แสดงเฉพาะความเสียหายโดยตรงนั้น มีความแม่นยำกว่ารายงานอื่นๆ ที่เสนอเฉพาะความเสียหายที่ใหญ่ๆ เท่านั้น

พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ในยุคปัจจุบันแม้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ออกมาเตือนว่าโลกของเราจะเผชิญกับ ภัยพิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และรัฐบาลพยายามที่จะลดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมให้ครอบคลุมเท่าใดก็ ตาม

ภาคธุรกิจกลับกลายเป็นประเด็นที่ไม่มีใครพูดถึง

เช่น ในปี 2554 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้โรงงานอุตสาห กรรมที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปยังสหรัฐ อังกฤษ อินเดีย และจีนต้องหยุดชะงัก ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจโลก

"ปัจจุบันธุรกิจได้ขยายตัวออกไปยังพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะประสบภัยพิบัติ เนื่องจากมีแรงงานราคาถูกและสาธารณูปโภคที่ดี แน่ นอนว่าการทำธุรกิจโลกแบบนี้ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น กำไรสูงขึ้น แต่ความไม่ระมัด ระวังถึงประเด็นที่ว่าหากมีความเสียหายจากภัยธรรมชาตินั้นอาจจะทำให้มีราคา ที่ต้องจ่ายมากกว่าเดิม" นายมาสก์เรย์กล่าว

ผู้ เขียนรายงานของ UNISDR อธิบายว่า การกำหนดพื้นที่การผลิตไม่ใช่การเดินผิดทาง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวกับการลงทุนของภาครัฐและนักวิเคราะห์จำเป็นต้องให้ ข้อมูลอย่างเปิดเผย จริงใจ และบริษัทนั้นจะต้องเลือกลงทุนอย่างฉลาด เช่น การเลือกอาคารที่มีระบบป้องกันภัยที่ดี

ส่วนหลายบริษัทที่มีแผนกบริหารความเสี่ยง ยังคงไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติมากนัก แต่กลับตั้งกรอบไว้เพียงแค่เรื่องความอ่อนไหวทางการเมือง การตลาด เงินเฟ้อ หรือการฟ้องร้องคดีเท่านั้น ทั้งที่เรื่องภัยธรรมชาติเป็นเรื่องใหญ่ การลงทุนแบบไม่คิดให้รอบคอบนั้นไม่เพียงแต่ทำให้ "ทรัพย์ สินด้อยค่า" เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมันในระยะยาวอีกด้วย

"ลองบอกว่าธุรกิจคุณเลิกทำธุรกิจหรือกิจการคุณต้องหยุดชั่วคราวไป 2 หรือ 3 เดือนสิ ลูกค้าของคุณคงจะย้ายไปจ้างผู้ประกอบการรายอื่น แรงงานฝีมือดีของคุณอาจจะ ลาออก ส่วนแบ่งการตลาดคุณอาจจะลดลง และชื่อเสียงของคุณเองจะได้รับผลกระทบ" มาสก์เรย์กล่าว

นักวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือบรรดาบริษัทต่างๆ มักปล่อยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้คิด ทั้งที่รับผิดชอบเพียงแค่บางส่วนของความเสียหายเท่านั้น โดยมีเพียงในอเมริกาที่บริษัทประกันอาจ รับผิดชอบความเสียหายถึงร้อยละ 90 แต่ ในตลาดโลกส่วนใหญ่ บรรดาบริษัทประกัน มักรับผิดชอบไม่เกินร้อยละ 10

"บริษัทประกันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่ใช่คำตอบ"

ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXlPVEl6TURVMU5nPT0=&sectionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB5TXc9PQ== (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 พ.ค.2556
วันที่โพสต์: 23/05/2556 เวลา 03:40:01 ดูภาพสไลด์โชว์ ภัยพิบัติ-ราคาที่ต้องจ่าย ยูเอ็นเผยตัวเลขพุ่งกระฉูด

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ช่วงนี้พายุโหมกระหน่ำทั้งซีกโลกตะวันตกและตะวันออก สร้างความเสียหายยับเยินไปพอๆ กัน ไซโคลน "มหาเสน" ถล่มบ้านเรือนชาวบ้านในบังกลาเทศและพม่า พังเสียหายไปหลายหมื่นหลัง มีผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งร้อย ส่วนในสหรัฐ พายุทอร์นาโดเพิ่งกวาดซัดพื้นที่ในรัฐโอกลาโฮมา คร่าชีวิตชาวอเมริกันไปครึ่งร้อยเช่นกัน ในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 20 ราย ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทั้งสองเหตุการณ์ล้วนสร้างความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน คณะทำงานว่าด้วยการลดความเสี่ยงอันเกิดจากภัยธรรมชาติขององค์การสหประชาชาติ (UNISDR) เพิ่งเปิดตัวเลขความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในศตวรรษใหม่นี้ไปถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72.5 ล้านล้านบาทแล้ว เป็นมูลค่าสูงกว่าที่เคยประมาณกันไว้ การ สำรวจครั้งนี้ นายแอนดรูว์ มาสก์เรย์ ผู้สำรวจยืนยันว่า การเก็บข้อมูลที่แสดงเฉพาะความเสียหายโดยตรงนั้น มีความแม่นยำกว่ารายงานอื่นๆ ที่เสนอเฉพาะความเสียหายที่ใหญ่ๆ เท่านั้น พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ในยุคปัจจุบันแม้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ออกมาเตือนว่าโลกของเราจะเผชิญกับ ภัยพิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และรัฐบาลพยายามที่จะลดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมให้ครอบคลุมเท่าใดก็ ตาม ภาคธุรกิจกลับกลายเป็นประเด็นที่ไม่มีใครพูดถึง เช่น ในปี 2554 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้โรงงานอุตสาห กรรมที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปยังสหรัฐ อังกฤษ อินเดีย และจีนต้องหยุดชะงัก ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจโลก "ปัจจุบันธุรกิจได้ขยายตัวออกไปยังพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะประสบภัยพิบัติ เนื่องจากมีแรงงานราคาถูกและสาธารณูปโภคที่ดี แน่ นอนว่าการทำธุรกิจโลกแบบนี้ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น กำไรสูงขึ้น แต่ความไม่ระมัด ระวังถึงประเด็นที่ว่าหากมีความเสียหายจากภัยธรรมชาตินั้นอาจจะทำให้มีราคา ที่ต้องจ่ายมากกว่าเดิม" นายมาสก์เรย์กล่าว ผู้ เขียนรายงานของ UNISDR อธิบายว่า การกำหนดพื้นที่การผลิตไม่ใช่การเดินผิดทาง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวกับการลงทุนของภาครัฐและนักวิเคราะห์จำเป็นต้องให้ ข้อมูลอย่างเปิดเผย จริงใจ และบริษัทนั้นจะต้องเลือกลงทุนอย่างฉลาด เช่น การเลือกอาคารที่มีระบบป้องกันภัยที่ดี ส่วนหลายบริษัทที่มีแผนกบริหารความเสี่ยง ยังคงไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติมากนัก แต่กลับตั้งกรอบไว้เพียงแค่เรื่องความอ่อนไหวทางการเมือง การตลาด เงินเฟ้อ หรือการฟ้องร้องคดีเท่านั้น ทั้งที่เรื่องภัยธรรมชาติเป็นเรื่องใหญ่ การลงทุนแบบไม่คิดให้รอบคอบนั้นไม่เพียงแต่ทำให้ "ทรัพย์ สินด้อยค่า" เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมันในระยะยาวอีกด้วย "ลองบอกว่าธุรกิจคุณเลิกทำธุรกิจหรือกิจการคุณต้องหยุดชั่วคราวไป 2 หรือ 3 เดือนสิ ลูกค้าของคุณคงจะย้ายไปจ้างผู้ประกอบการรายอื่น แรงงานฝีมือดีของคุณอาจจะ ลาออก ส่วนแบ่งการตลาดคุณอาจจะลดลง และชื่อเสียงของคุณเองจะได้รับผลกระทบ" มาสก์เรย์กล่าว นักวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือบรรดาบริษัทต่างๆ มักปล่อยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้คิด ทั้งที่รับผิดชอบเพียงแค่บางส่วนของความเสียหายเท่านั้น โดยมีเพียงในอเมริกาที่บริษัทประกันอาจ รับผิดชอบความเสียหายถึงร้อยละ 90 แต่ ในตลาดโลกส่วนใหญ่ บรรดาบริษัทประกัน มักรับผิดชอบไม่เกินร้อยละ 10 "บริษัทประกันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่ใช่คำตอบ" ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXlPVEl6TURVMU5nPT0=§ionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB5TXc9PQ==

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...