ฝึกทักษะนศ.สัตวแพทย์ ช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติ

แสดงความคิดเห็น

รวมภาพการฝึกทักษะนศ.สัตวแพทย์ ในช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติ อาทิ การช่วยเหลือสัตว์ที่ประสบภัยทางน้ำ

ประสบการณ์จะมีส่วนช่วยให้เอาตัวรอดได้อย่างมากเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง ไม่เพียงแต่การช่วยเหลือมนุษย์ด้วยกันให้รอดพ้นเท่านั้น แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนร่วมโลกที่มนุษย์ต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA) ครั้งที่ 5 จึงได้ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยใหญ่ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมหน่วยสัตวแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติ หรือ “Veterinary Emergency Response Unit” (VERU) โดยมีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมการฝึกอบรมรวมกว่า 60 คน

อบรมหน่วยสัตวแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 5 โดยเน้นการฝึกปฏิบัติในภาวะวิกฤติเมื่อชุมชนและสัตว์ประสบภัยพิบัติทางน้ำ นอกจากนี้ ทั้งอาจารย์และนักวิชาการศึกษา ยังได้มีการพูดคุยถึงแนวโน้มและทิศทางสำหรับแผนพัฒนาหลักสูตรการสัตวแพทย์ ของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 ด้วยการนำหลักสูตร VERU ของ WSPA เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาในอนาคตด้วย

ผศ.ดร.วีรพล ทวีนันท์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจัดงานในปีนี้ กล่าวว่า กิจกรรมนี้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการทำงานทั้งในระดับสถาบัน คณาจารย์ และนักศึกษาร่วมกับ WSPA ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการนำองค์ความรู้ระดับโลกด้านการจัดการภัยพิบัติมาถ่ายทอดให้กับนัก ศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น

คุณสุวิมล บุญทารมณ์ หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารองค์กรและระดมทุน WSPA กล่าวว่า ภาพรวมของโครงการ VERU คือต้องการสร้างเครือข่ายสัตวแพทย์ที่เข้มแข็ง ให้มีความพร้อมและความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการภัยพิบัติ การดูแลสัตว์ระหว่างภัยพิบัติ และการมีส่วนร่วมของจากทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง นอกจากกิจกรรมซ้อมอบรมหน่วยสัตวแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติเชิงปฏิบัติที่ ทำมาทุกปีแล้ว ในปีนี้ยังมีการฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้วย เนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลหรือทีมงานที่เข้าไปช่วยเหลือสัตว์ ดังนั้นจึงได้เพิ่มหลักสูตรการฝึกอบรมการเตรียมความปลอดภัยทางน้ำเชิง ปฏิบัติเข้ามา และหวังว่าเครือข่ายที่เกิดขึ้นจะมีความพร้อม และความเสียสละเพื่อเข้าร่วมช่วยเหลือสัตว์ในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ สัตว์ในภาวะภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้

สำหรับการฝึกอบรมการเตรียมความปลอดภัยทางน้ำเชิงปฏิบัติ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ เช่น การใช้เสื้อชูชีพพิเศษสำหรับการช่วยเหลือคนในกระแสน้ำเชี่ยว วิธีการโยนเชือก การไต่เชือกข้ามลำธารในกระแสน้ำเชี่ยว การช่วยผู้ประสบภัยตกน้ำ เทคนิคการข้ามลำน้ำ การลอยตัวในน้ำ และการตรวจสอบความสามารถของตนเองในการว่ายน้ำข้ามลำน้ำ

นอกจากนี้ยังมีการฝึกหาข้อมูลทางด้านภัยพิบัติโดยไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ซึ่ง ใช้วิธีการที่เรียกว่า Remote Assessment โดยข้อมูลจะสืบค้นจากการรายงานในอินเทอร์เน็ตหรือโทรฯ สอบถามจากแหล่งข้อมูล เช่น สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ทั้งนี้ได้จำลองสถานการณ์ว่ามีรายงานประกาศเขตภัยแล้ง 8 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ และให้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาให้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์พื้นที่ที่ ประสบภัยแล้งในจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เช่น ผลกระทบต่อสัตว์จากสภาพภัยแล้งในพื้นที่นั้น ๆ ประเภทและจำนวนของสัตว์ในพื้นที่ มาตรการการให้ความช่วยเหลือที่สำนักงานปศุสัตว์แต่ละจังหวัดจะดำเนินการ เป็นต้น ซึ่งการซักซ้อมนี้จะทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนในการสอบถามข้อมูลกับหน่วยงานที่ ดูแลสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจริงเพื่อนำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นมาประเมินว่า พื้นที่นั้น ๆ สมควรจะส่งทีมเข้าไปช่วยเหลือหรือไม่ หรือต้องวางแผนช่วยเหลืออย่างไร

นายอัมรินทร์ ฤทธิพรเลิศรักษ์ นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 5 กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ได้ฝึกฝนให้เกิดการคิดการวางแผน การวิเคราะห์สถานการณ์ และการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี แต่จะเป็นรูปแบบน้ำท่วมที่จะท่วมแค่ไม่กี่วัน ดังนั้นก็จะวางแผนว่าจะให้ความรู้แก่คนที่ทำปศุสัตว์ว่าจะต้องจัดการกับ สัตว์อย่างไร ตอนนี้ตนเองอาจยังช่วยเหลืออะไรไม่ได้มากเพราะยังเรียนอยู่ ดังนั้นก็จะพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านการเป็นอาสาสมัคร ออกหน่วยกับคณะสัตวแพทย์ ช่วยระดมทุน ระดมอาหารเพื่อช่วยเหลือสัตว์

ด้าน นางสาวสิรีกร ฉายศิลป์รุ่งเรือง นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 5 กล่าวว่า ได้เข้าอบรมแล้วรู้สึกดีมาก เมื่อก่อนจะเห็นจากในทีวีเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนในภาวะภัยพิบัติ แต่พอได้เข้ามาฝึกอบรมจริง ๆ แล้วได้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติงานอย่างไร ต้องมีการวางแผนคิดและวิเคราะห์อย่างไร ซึ่งไม่มีในตำรา ทำให้รู้ว่าสัตวแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่แค่การรักษาสัตว์ แต่ยังมีหน้าที่ในการช่วยเหลือส่วนรวมและสังคมเวลาที่เกิดภัยพิบัติจริง ปศุสัตว์เป็นวิถีชีวิตและแหล่งรายได้ของชาวบ้าน ดังนั้นถ้าช่วยเหลือสัตว์ที่ประสบภัยก็เหมือนช่วยสังคมและช่วยเศรษฐกิจใน สังคมนั้นด้วย.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/729/203725

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 11 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 12/05/2556 เวลา 02:12:27 ดูภาพสไลด์โชว์ ฝึกทักษะนศ.สัตวแพทย์ ช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รวมภาพการฝึกทักษะนศ.สัตวแพทย์ ในช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติ อาทิ การช่วยเหลือสัตว์ที่ประสบภัยทางน้ำ ประสบการณ์จะมีส่วนช่วยให้เอาตัวรอดได้อย่างมากเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง ไม่เพียงแต่การช่วยเหลือมนุษย์ด้วยกันให้รอดพ้นเท่านั้น แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนร่วมโลกที่มนุษย์ต้องยื่นมือเข้าช่วยเหลือ องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (WSPA) ครั้งที่ 5 จึงได้ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยใหญ่ ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร และมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมหน่วยสัตวแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติ หรือ “Veterinary Emergency Response Unit” (VERU) โดยมีนิสิตนักศึกษาเข้าร่วมการฝึกอบรมรวมกว่า 60 คน อบรมหน่วยสัตวแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 5 โดยเน้นการฝึกปฏิบัติในภาวะวิกฤติเมื่อชุมชนและสัตว์ประสบภัยพิบัติทางน้ำ นอกจากนี้ ทั้งอาจารย์และนักวิชาการศึกษา ยังได้มีการพูดคุยถึงแนวโน้มและทิศทางสำหรับแผนพัฒนาหลักสูตรการสัตวแพทย์ ของมหาวิทยาลัยทั้ง 5 ด้วยการนำหลักสูตร VERU ของ WSPA เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของนิสิตนักศึกษาในอนาคตด้วย ผศ.ดร.วีรพล ทวีนันท์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเจ้าภาพจัดงานในปีนี้ กล่าวว่า กิจกรรมนี้ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายการทำงานทั้งในระดับสถาบัน คณาจารย์ และนักศึกษาร่วมกับ WSPA ในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการนำองค์ความรู้ระดับโลกด้านการจัดการภัยพิบัติมาถ่ายทอดให้กับนัก ศึกษา ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งหากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น คุณสุวิมล บุญทารมณ์ หัวหน้าฝ่ายการสื่อสารองค์กรและระดมทุน WSPA กล่าวว่า ภาพรวมของโครงการ VERU คือต้องการสร้างเครือข่ายสัตวแพทย์ที่เข้มแข็ง ให้มีความพร้อมและความเข้าใจในเรื่องของการบริหารจัดการภัยพิบัติ การดูแลสัตว์ระหว่างภัยพิบัติ และการมีส่วนร่วมของจากทุกองค์กรที่เกี่ยวข้อง นอกจากกิจกรรมซ้อมอบรมหน่วยสัตวแพทย์ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติเชิงปฏิบัติที่ ทำมาทุกปีแล้ว ในปีนี้ยังมีการฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมของบุคลากรด้วย เนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคคลหรือทีมงานที่เข้าไปช่วยเหลือสัตว์ ดังนั้นจึงได้เพิ่มหลักสูตรการฝึกอบรมการเตรียมความปลอดภัยทางน้ำเชิง ปฏิบัติเข้ามา และหวังว่าเครือข่ายที่เกิดขึ้นจะมีความพร้อม และความเสียสละเพื่อเข้าร่วมช่วยเหลือสัตว์ในการปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ สัตว์ในภาวะภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สำหรับการฝึกอบรมการเตรียมความปลอดภัยทางน้ำเชิงปฏิบัติ ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ถึงวิธีการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตทางน้ำ เช่น การใช้เสื้อชูชีพพิเศษสำหรับการช่วยเหลือคนในกระแสน้ำเชี่ยว วิธีการโยนเชือก การไต่เชือกข้ามลำธารในกระแสน้ำเชี่ยว การช่วยผู้ประสบภัยตกน้ำ เทคนิคการข้ามลำน้ำ การลอยตัวในน้ำ และการตรวจสอบความสามารถของตนเองในการว่ายน้ำข้ามลำน้ำ นอกจากนี้ยังมีการฝึกหาข้อมูลทางด้านภัยพิบัติโดยไม่ได้เข้าไปในพื้นที่ซึ่ง ใช้วิธีการที่เรียกว่า Remote Assessment โดยข้อมูลจะสืบค้นจากการรายงานในอินเทอร์เน็ตหรือโทรฯ สอบถามจากแหล่งข้อมูล เช่น สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด ทั้งนี้ได้จำลองสถานการณ์ว่ามีรายงานประกาศเขตภัยแล้ง 8 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ และให้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาให้สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์พื้นที่ที่ ประสบภัยแล้งในจังหวัดที่ได้รับมอบหมาย เช่น ผลกระทบต่อสัตว์จากสภาพภัยแล้งในพื้นที่นั้น ๆ ประเภทและจำนวนของสัตว์ในพื้นที่ มาตรการการให้ความช่วยเหลือที่สำนักงานปศุสัตว์แต่ละจังหวัดจะดำเนินการ เป็นต้น ซึ่งการซักซ้อมนี้จะทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝนในการสอบถามข้อมูลกับหน่วยงานที่ ดูแลสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจริงเพื่อนำข้อมูลที่ได้เหล่านั้นมาประเมินว่า พื้นที่นั้น ๆ สมควรจะส่งทีมเข้าไปช่วยเหลือหรือไม่ หรือต้องวางแผนช่วยเหลืออย่างไร นายอัมรินทร์ ฤทธิพรเลิศรักษ์ นักศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชั้นปีที่ 5 กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้ได้ฝึกฝนให้เกิดการคิดการวางแผน การวิเคราะห์สถานการณ์ และการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ เช่นที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่จะเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี แต่จะเป็นรูปแบบน้ำท่วมที่จะท่วมแค่ไม่กี่วัน ดังนั้นก็จะวางแผนว่าจะให้ความรู้แก่คนที่ทำปศุสัตว์ว่าจะต้องจัดการกับ สัตว์อย่างไร ตอนนี้ตนเองอาจยังช่วยเหลืออะไรไม่ได้มากเพราะยังเรียนอยู่ ดังนั้นก็จะพร้อมที่จะช่วยเหลือในด้านการเป็นอาสาสมัคร ออกหน่วยกับคณะสัตวแพทย์ ช่วยระดมทุน ระดมอาหารเพื่อช่วยเหลือสัตว์ ด้าน นางสาวสิรีกร ฉายศิลป์รุ่งเรือง นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 5 กล่าวว่า ได้เข้าอบรมแล้วรู้สึกดีมาก เมื่อก่อนจะเห็นจากในทีวีเกี่ยวกับการช่วยเหลือคนในภาวะภัยพิบัติ แต่พอได้เข้ามาฝึกอบรมจริง ๆ แล้วได้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติงานอย่างไร ต้องมีการวางแผนคิดและวิเคราะห์อย่างไร ซึ่งไม่มีในตำรา ทำให้รู้ว่าสัตวแพทย์ไม่ได้มีหน้าที่แค่การรักษาสัตว์ แต่ยังมีหน้าที่ในการช่วยเหลือส่วนรวมและสังคมเวลาที่เกิดภัยพิบัติจริง ปศุสัตว์เป็นวิถีชีวิตและแหล่งรายได้ของชาวบ้าน ดังนั้นถ้าช่วยเหลือสัตว์ที่ประสบภัยก็เหมือนช่วยสังคมและช่วยเศรษฐกิจใน สังคมนั้นด้วย. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/729/203725

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...