1 ทศวรรษ ปภ. จากป้องกันภัยเชิงรุก..สู่จัดการภัยพิบัติยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

ในอดีตประเทศไทยไม่มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบภารกิจด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยโดยตรง การดำเนินการส่วนใหญ่เน้น “การบรรเทาและฟื้นฟู” ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดภัย จากการปฎิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบภารกิจบูรณาการและประสานการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ซึ่งได้ปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสาธารณภัยให้ครอบคลุมวงจรภัยพิบัติ โดยให้ความสำคัญกับ “การลดผลกระทบและการเตรียมความพร้อม” ในช่วงก่อนเกิดภัย ควบคู่กับ “การจัดการภาวะฉุกเฉิน” ขณะเกิดภัย รวมถึง “การฟื้นฟูบูรณะ” ภายหลังเกิดภัย

ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 1 ทศวรรษ ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของรัฐดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยบูรณาการทุกภาคส่วนบริหารจัดการสาธารณภัยตามหลัก 2P 2R ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และเป็นหลักบริหารจัดการสาธารณภัยระดับสากล รวมถึงดำเนินการตามนโยบายเน้นหนักของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน ก่อให้เกิดมิติใหม่ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ดังนี้

P1 : Prevention (การป้องกัน) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้ดำเนินมาตรการที่ใช้โครงสร้าง ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อสร้างเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระยะยาว ควบคู่กับมาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง โดยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติและปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่ประชาชนผ่านกลไกการสื่อสารและกระบวนการฝึกอบรม รวมถึงนำกฎหมายผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนป้องกันภัยพิบัติ พร้อมจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ครอบคลุมทุกประเภทภัย สำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ

P2 : Preparation (การเตรียมความพร้อม) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้มุ่งส่งเสริมเครือข่ายให้มีความพร้อมในการรับมือและจัดการภัยพิบัติเชิงรุก โดยเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้สามารถจัดการภัยพิบัติได้ในเบื้องต้น พร้อมสร้างเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาผู้มีจิตอาสาเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของภาครัฐ ทั้งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล(OTOS) มิสเตอร์เตือนภัย และจัดตั้งชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต(ERT) เป็นหน่วยเผชิญเหตุกรณีเกิดวิกฤตภัยขนาดใหญ่ รวมถึงดำเนินการฝึกซ้อมแผนในทุกระดับ เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ซักซ้อมขั้นตอนการตอบโต้สถานการณ์ภัย และประชาชนได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

R1 : Response (การรับมือ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินโดยจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า พร้อมนำระบบบัญชาการเหตุการณ์(Incident Command System : ICS) ภายใต้รูปแบบ Single Command มาใช้ในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ส่งผลให้การตอบโต้เหตุฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีเอกภาพ สามารถลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

R2 : Recovery (การฟื้นฟู) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้เร่งให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค อำนวยความสะดวกด้านสิ่งสาธารณูปโภค บริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว ฟื้นฟูสิ่งสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และช่วยเหลือเยียวยาให้ผู้ประสบภัยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปภ. มุ่งมั่นวางรากฐานและพัฒนากลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้เป็นระบบ มีเอกภาพและครอบคลุมทุกมิติตามแนวทาง “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม วางระบบอาสาสมัครและขยายเครือข่ายป้องกันภัยให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย รวมถึงเร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือจัดการภัยพิบัติระดับอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญในการสร้างความปลอดภัยแก่คนไทย และส่งเสริมให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับสากล

ในโอกาสครบรอบ 1 ทศวรรษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเชิญชวนประชาชนส่งบทความเข้าประกวดภายใต้แนวคิด “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” ชิงรางวัลเงินสดพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 เม.ย. 56 ดูรายละเอียดได้ทาง http://www.disaster.go.th (ขนาดไฟล์: 169) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2637 3466 และ 0 2637 3453

ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56

ที่มา: คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56
วันที่โพสต์: 27/02/2556 เวลา 02:34:48

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ในอดีตประเทศไทยไม่มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบภารกิจด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยโดยตรง การดำเนินการส่วนใหญ่เน้น “การบรรเทาและฟื้นฟู” ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดภัย จากการปฎิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบภารกิจบูรณาการและประสานการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ซึ่งได้ปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสาธารณภัยให้ครอบคลุมวงจรภัยพิบัติ โดยให้ความสำคัญกับ “การลดผลกระทบและการเตรียมความพร้อม” ในช่วงก่อนเกิดภัย ควบคู่กับ “การจัดการภาวะฉุกเฉิน” ขณะเกิดภัย รวมถึง “การฟื้นฟูบูรณะ” ภายหลังเกิดภัย ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 1 ทศวรรษ ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของรัฐดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยบูรณาการทุกภาคส่วนบริหารจัดการสาธารณภัยตามหลัก 2P 2R ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และเป็นหลักบริหารจัดการสาธารณภัยระดับสากล รวมถึงดำเนินการตามนโยบายเน้นหนักของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน ก่อให้เกิดมิติใหม่ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ดังนี้ P1 : Prevention (การป้องกัน) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้ดำเนินมาตรการที่ใช้โครงสร้าง ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อสร้างเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระยะยาว ควบคู่กับมาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง โดยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติและปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่ประชาชนผ่านกลไกการสื่อสารและกระบวนการฝึกอบรม รวมถึงนำกฎหมายผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนป้องกันภัยพิบัติ พร้อมจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ครอบคลุมทุกประเภทภัย สำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ P2 : Preparation (การเตรียมความพร้อม) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้มุ่งส่งเสริมเครือข่ายให้มีความพร้อมในการรับมือและจัดการภัยพิบัติเชิงรุก โดยเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้สามารถจัดการภัยพิบัติได้ในเบื้องต้น พร้อมสร้างเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาผู้มีจิตอาสาเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของภาครัฐ ทั้งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล(OTOS) มิสเตอร์เตือนภัย และจัดตั้งชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต(ERT) เป็นหน่วยเผชิญเหตุกรณีเกิดวิกฤตภัยขนาดใหญ่ รวมถึงดำเนินการฝึกซ้อมแผนในทุกระดับ เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ซักซ้อมขั้นตอนการตอบโต้สถานการณ์ภัย และประชาชนได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน R1 : Response (การรับมือ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินโดยจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า พร้อมนำระบบบัญชาการเหตุการณ์(Incident Command System : ICS) ภายใต้รูปแบบ Single Command มาใช้ในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ส่งผลให้การตอบโต้เหตุฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีเอกภาพ สามารถลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ R2 : Recovery (การฟื้นฟู) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้เร่งให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค อำนวยความสะดวกด้านสิ่งสาธารณูปโภค บริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว ฟื้นฟูสิ่งสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และช่วยเหลือเยียวยาให้ผู้ประสบภัยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปภ. มุ่งมั่นวางรากฐานและพัฒนากลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้เป็นระบบ มีเอกภาพและครอบคลุมทุกมิติตามแนวทาง “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม วางระบบอาสาสมัครและขยายเครือข่ายป้องกันภัยให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย รวมถึงเร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือจัดการภัยพิบัติระดับอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญในการสร้างความปลอดภัยแก่คนไทย และส่งเสริมให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับสากล ในโอกาสครบรอบ 1 ทศวรรษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเชิญชวนประชาชนส่งบทความเข้าประกวดภายใต้แนวคิด “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” ชิงรางวัลเงินสดพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 เม.ย. 56 ดูรายละเอียดได้ทาง http://www.disaster.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2637 3466 และ 0 2637 3453 ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...