เรื่องของทุกข์ สุข : พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เริ่มต้นจาก ภาวนา

แสดงความคิดเห็น

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

มีคำถามว่า "อยากจะเกิดอีกสัก 2 ชาติแต่ไม่อยากเกิดมาเป็นทุกข์ อยากจะได้รับแต่ความสุข จึงขอกราบเรียนถามว่า การทำบุญชาตินี้จะส่งผลไปถึงชาติหน้าได้หรือไม่ และจะได้รับบุญในชาติหน้านี้หรือเปล่า"

เป็นเรื่องของ "บุญ" เป็นเรื่องของ "การเกิด"

เป็นเรื่องของ "ความทุกข์" เป็นเรื่องของ "ความสุข" และผลสะเทือนในแต่ละชาติ ในแต่ละภพ

"เกิดมาต้องเป็นทุกข์แน่โยม" เป็นการยืนยันจาก พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

"จะต่างกันก็ทุกข์มาก ทุกข์น้อยเท่านั้นแหละ การทำบุญต้องส่งไปให้ชาติหน้าแน่ ของเราจะทำแล้วจะไปไหน การทำบุญไม่ใช่หนทางพ้นจากทุกข์โดยตรง แต่เป็นทางทำทุกข์ให้น้อยลง"

จากนั้น จึงเน้นอย่างหนักแน่นและจริงจัง

"การภาวนานั้นซีเป็นทางนำทุกข์ให้หมดไป ฉะนั้น ใครก็ตามปรารถนาว่าขอเกิด 2 ชาติ 5 ชาติ ถ้าเราภาวนาไม่ดีจะปรารถนาอย่างไรก็ไม่ได้"

ขึ้นอยู่กับ "ภาวนา" ขึ้นอยู่กับ "ปฏิบัติ"

ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการภาวนาดำเนินไปอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการลงมือปฏิบัติดำเนินไปอย่างไร

ยังมีคำถามต่อ "เป็นฆราวาสต้องมีพันธะอยู่กับครอบครัว เมื่อทำความเพียรด้วยการภาวนาจนจิตเป็นสมาธิ ได้รับความสุขแล้วมิได้คิดถึงเรื่องอนาคตข้างหน้า เพราะทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิด-ดับ เกิด-ดับตามหลักพุทธศาสนาถูกต้องแล้ว

ก็เพียรอยากจะได้ความสุขอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น

อยากจะทำความเพียรภาวนาให้เป็นสมาธิอยู่ต่อไปก็ยังต้องติดอยู่กับบ่วง มีเครื่องผูกพันอยู่จะทำอย่างไร จึงขอกราบเรียนถามวิธีจะให้ได้รับความสุขนี้อยู่เรื่อยๆ ไป"

ยังอยู่ในประเด็นว่าด้วย "ความสุข"

"เป็นธรรมดา" พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ตอบ "อยากจะได้รับความสุข เมื่อเห็นผู้ที่บวชเข้ามาแล้วไม่มีพันธะอะไรเข้าใจว่าจะได้รับความสุข"

แล้วผู้ที่ "บวช" นั้นมี "ความสุข" จริงละหรือ

ความเห็นของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี คือ "แท้จริง ผู้บวชแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท จะต้องคิดถึงหน้าที่ของตนว่า กิจสิ่งใด ข้อวัตรอันใดที่ตนทำแล้วยังไม่ได้ทำ กรรมอันใดที่ผิดไม่ควรทำ เราละแล้วหรือยัง ความดีมีพอแล้วหรือที่จะภาคภูมิใจแก่ตัวเองและไม่ให้เดือดร้อนภายหลัง

เหล่านี้เป็นความเดือดร้อนของพระ

เป็นพระก็ดี เป็นฆราวาสก็ดี มีความเดือดร้อนไปคนละอย่าง

ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาทพิจารณาตนเองอยู่เป็นนิจ จะพ้นจากทุกข์ไม่ว่าพระหรือฆราวาสด้วยการทำความสงบสุขอันปราศจากนิวรณ์ 5

มีความมุ่งมั่นในอารมณ์นั้นอยู่เสมอ ถึงอารมณ์ใดจะมารบกวนก็ไม่ไหวไปตาม"

ในระหว่างพาพุทธศาสนิก"ภาวนา"พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี อบรมธรรมนำก่อนว่า

ภาวนา ก็คือวิธีอบรมใจให้ได้รับความสงบ เพราะเราไม่เคยสงบตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ใจที่ไม่ได้รับความสงบแล้วก็ไม่มีพลังที่จะเกิดความรู้ คือความนึกคิดอะไรต่างๆ ให้เห็นของจริงได้

เหตุนั้น การภาวนาจึงเป็นการสร้างพลังใจให้ใจสงบอยู่ในที่เดียว

จะอยู่ได้นานสักเท่าใด ก็ขอให้อยู่ไปเสียก่อน

แต่ใจเป็นของไม่มีตัว เหมือนลมกระทบสิ่งหนึ่ง จึงปรากฏว่ามีลม ใจก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องให้กระทบวัตถุใดวัตถุหนึ่ง เช่น ให้กระทบที่ปลายจมูกเอาลมหายใจนั้นเป็นเครื่องวัดให้ใจไปรู้เฉพาะลมหายใจกระทบปลายจมูกก็ได้

หรือเราจะเพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะตัวของเราให้เห็นสักแต่ว่าธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาก็ได้ แล้วแต่จะถนัดอย่างไหน

เมื่อใจมันกระทบอยู่นั้น จะเห็นใจชัดขึ้นมาทีเดียวว่าใจอยู่หรือไม่อยู่ เมื่อไม่อยู่ก็ดึงเอามาไว้ให้อยู่ในที่เดียว เมื่ออยู่แล้วก็คุมสติเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนั้น เมื่อทำอยู่อย่างนี้ใจก็จะค่อยอ่อนลง อ่อนลง

แล้วผลที่สุดก็รวมเป็นเอกัคคตารมณ์ มีใจเป็นอารมณ์อันหนึ่งได้

จากนี้จึงแจ่มชัดเป็นอย่างยิ่งว่า จะทุกข์จะสุขจึงอยู่ที่การรู้ เพราะจากการรู้นั้นเองทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นทุกข์น้อย และน้อยลงเป็นลำดับ

น้อยลงกระทั่งไม่เหลือทุกข์

มีแต่ต้อง "รู้" เท่านั้นที่จะเข้าใจในกระบวนการแห่ง "ทุกข์" และบริหารจัดการ "ทุกข์" ได้

ขอบคุณ…อีเมล์ส่งต่อ

ที่มา: อีเมล์ส่งต่อ
วันที่โพสต์: 8/01/2557 เวลา 07:08:40 ดูภาพสไลด์โชว์ เรื่องของทุกข์ สุข : พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี เริ่มต้นจาก ภาวนา

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี มีคำถามว่า "อยากจะเกิดอีกสัก 2 ชาติแต่ไม่อยากเกิดมาเป็นทุกข์ อยากจะได้รับแต่ความสุข จึงขอกราบเรียนถามว่า การทำบุญชาตินี้จะส่งผลไปถึงชาติหน้าได้หรือไม่ และจะได้รับบุญในชาติหน้านี้หรือเปล่า" เป็นเรื่องของ "บุญ" เป็นเรื่องของ "การเกิด" เป็นเรื่องของ "ความทุกข์" เป็นเรื่องของ "ความสุข" และผลสะเทือนในแต่ละชาติ ในแต่ละภพ "เกิดมาต้องเป็นทุกข์แน่โยม" เป็นการยืนยันจาก พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี "จะต่างกันก็ทุกข์มาก ทุกข์น้อยเท่านั้นแหละ การทำบุญต้องส่งไปให้ชาติหน้าแน่ ของเราจะทำแล้วจะไปไหน การทำบุญไม่ใช่หนทางพ้นจากทุกข์โดยตรง แต่เป็นทางทำทุกข์ให้น้อยลง" จากนั้น จึงเน้นอย่างหนักแน่นและจริงจัง "การภาวนานั้นซีเป็นทางนำทุกข์ให้หมดไป ฉะนั้น ใครก็ตามปรารถนาว่าขอเกิด 2 ชาติ 5 ชาติ ถ้าเราภาวนาไม่ดีจะปรารถนาอย่างไรก็ไม่ได้" ขึ้นอยู่กับ "ภาวนา" ขึ้นอยู่กับ "ปฏิบัติ" ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการภาวนาดำเนินไปอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการลงมือปฏิบัติดำเนินไปอย่างไร ยังมีคำถามต่อ "เป็นฆราวาสต้องมีพันธะอยู่กับครอบครัว เมื่อทำความเพียรด้วยการภาวนาจนจิตเป็นสมาธิ ได้รับความสุขแล้วมิได้คิดถึงเรื่องอนาคตข้างหน้า เพราะทราบว่าทุกสิ่งทุกอย่างเกิด-ดับ เกิด-ดับตามหลักพุทธศาสนาถูกต้องแล้ว ก็เพียรอยากจะได้ความสุขอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น อยากจะทำความเพียรภาวนาให้เป็นสมาธิอยู่ต่อไปก็ยังต้องติดอยู่กับบ่วง มีเครื่องผูกพันอยู่จะทำอย่างไร จึงขอกราบเรียนถามวิธีจะให้ได้รับความสุขนี้อยู่เรื่อยๆ ไป" ยังอยู่ในประเด็นว่าด้วย "ความสุข" "เป็นธรรมดา" พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ตอบ "อยากจะได้รับความสุข เมื่อเห็นผู้ที่บวชเข้ามาแล้วไม่มีพันธะอะไรเข้าใจว่าจะได้รับความสุข" แล้วผู้ที่ "บวช" นั้นมี "ความสุข" จริงละหรือ ความเห็นของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี คือ "แท้จริง ผู้บวชแล้วเป็นผู้ไม่ประมาท จะต้องคิดถึงหน้าที่ของตนว่า กิจสิ่งใด ข้อวัตรอันใดที่ตนทำแล้วยังไม่ได้ทำ กรรมอันใดที่ผิดไม่ควรทำ เราละแล้วหรือยัง ความดีมีพอแล้วหรือที่จะภาคภูมิใจแก่ตัวเองและไม่ให้เดือดร้อนภายหลัง เหล่านี้เป็นความเดือดร้อนของพระ เป็นพระก็ดี เป็นฆราวาสก็ดี มีความเดือดร้อนไปคนละอย่าง ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาทพิจารณาตนเองอยู่เป็นนิจ จะพ้นจากทุกข์ไม่ว่าพระหรือฆราวาสด้วยการทำความสงบสุขอันปราศจากนิวรณ์ 5 มีความมุ่งมั่นในอารมณ์นั้นอยู่เสมอ ถึงอารมณ์ใดจะมารบกวนก็ไม่ไหวไปตาม" ในระหว่างพาพุทธศาสนิก"ภาวนา"พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี อบรมธรรมนำก่อนว่า ภาวนา ก็คือวิธีอบรมใจให้ได้รับความสงบ เพราะเราไม่เคยสงบตั้งแต่ไหนแต่ไรมา ใจที่ไม่ได้รับความสงบแล้วก็ไม่มีพลังที่จะเกิดความรู้ คือความนึกคิดอะไรต่างๆ ให้เห็นของจริงได้ เหตุนั้น การภาวนาจึงเป็นการสร้างพลังใจให้ใจสงบอยู่ในที่เดียว จะอยู่ได้นานสักเท่าใด ก็ขอให้อยู่ไปเสียก่อน แต่ใจเป็นของไม่มีตัว เหมือนลมกระทบสิ่งหนึ่ง จึงปรากฏว่ามีลม ใจก็เช่นเดียวกัน เราจะต้องให้กระทบวัตถุใดวัตถุหนึ่ง เช่น ให้กระทบที่ปลายจมูกเอาลมหายใจนั้นเป็นเครื่องวัดให้ใจไปรู้เฉพาะลมหายใจกระทบปลายจมูกก็ได้ หรือเราจะเพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะตัวของเราให้เห็นสักแต่ว่าธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม อยู่อย่างนั้นตลอดเวลาก็ได้ แล้วแต่จะถนัดอย่างไหน เมื่อใจมันกระทบอยู่นั้น จะเห็นใจชัดขึ้นมาทีเดียวว่าใจอยู่หรือไม่อยู่ เมื่อไม่อยู่ก็ดึงเอามาไว้ให้อยู่ในที่เดียว เมื่ออยู่แล้วก็คุมสติเพ่งพิจารณาอยู่อย่างนั้น เมื่อทำอยู่อย่างนี้ใจก็จะค่อยอ่อนลง อ่อนลง แล้วผลที่สุดก็รวมเป็นเอกัคคตารมณ์ มีใจเป็นอารมณ์อันหนึ่งได้ จากนี้จึงแจ่มชัดเป็นอย่างยิ่งว่า จะทุกข์จะสุขจึงอยู่ที่การรู้ เพราะจากการรู้นั้นเองทำให้รู้ว่าสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นทุกข์น้อย และน้อยลงเป็นลำดับ น้อยลงกระทั่งไม่เหลือทุกข์ มีแต่ต้อง "รู้" เท่านั้นที่จะเข้าใจในกระบวนการแห่ง "ทุกข์" และบริหารจัดการ "ทุกข์" ได้ ขอบคุณ…อีเมล์ส่งต่อ

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...