ธรรมเพื่อความเจริญ 7 ประการ

แสดงความคิดเห็น

ธรรมเพื่อความเจริญ 7 ประการ

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญ สำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วย

1.หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ การประชุมหารือกันนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในทุกหมู่คณะ ทุกสังคม การที่ผู้นำระดับต่างๆ จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือ หรือให้สมาชิกของทุกหน่วยงานได้พูดคุยอยู่เสมอๆ เป็นประจำในงานการทุกอย่างนั้น นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ประการแรก เชื่อว่าเป็นการให้เกียรติแก่สมาชิก เป็นการยอมรับว่า สมาชิกแต่ละคนมีความรู้ มีความสามารถที่จะช่วยหมู่คณะได้ เชื่อว่า เป็นการให้ความสำคัญแก่เขา ทำให้เขาเกิดภูมิใจ เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เป็นผู้นำที่เอาแต่ใจตนเอง ผู้นำนั้นๆ นับว่าเป็นผู้มีความใจกว้าง ใจน่าเคารพนับถือ เมื่อสมาชิกหมู่คณะต่างๆ เกิดความนิยมนับถือในผู้นำ ความสมัครสมานสามัคคีก็มั่นคงในหมู่คณะนั้นๆ

2.พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันปฏิบัติภารกิจของหมู่คณะ การประชุมที่ดีมีคุณค่ายิ่งใหญ่นั้น จะต้องพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก ไม่เดินออกจากห้องประชุมขณะกำลังมีเรื่องปรึกษาหารือกัน ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ถ้าสมาชิกของหมู่คณะเห็นแก่ส่วนรวม แข่งกันทำงานให้ส่วนรวม สังคมเราตลอดถึงประเทศชาติจะเจริญรวมเร็วเป็นปึกแผ่น

3.ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ การออกระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในหมู่คณะหรือบ้านเมืองนั้น ออกมาได้เพราะได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า เป็นการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันและกัน ทำให้ส่วนรวมมีศักดิ์ศรี น่ายกย่อง ทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคม จะต้องถือเป็นวินัยที่พึงปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน และวินัยนี่เองเป็นเหตุส่งเสริมให้การปกครองการบริหารเกิดผลดี มีประสิทธิภาพ

4.เคารพนับถือสักการะผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธาน เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน ความเป็นผู้ใหญ่กับความเป็นผู้น้อย เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะการปกครอง การบริหารจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ และผู้น้อย หน้าที่ปกครอง หน้าที่สั่งการ หน้าที่อบรมสั่งสอนให้ความรู้ เป็นต้น เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำจักต้องปฏิบัติ ในการนับถือผู้ใหญ่ เราก็นับถือเพราะคุณความดีของท่านที่ปรากฏ เช่น ท่านมีความยุติธรรม มีพรหมวิหารธรรม เป็นต้น

5.ไม่ลุแก่อำนาจความอยาก คนเรามีความอยากได้ เพราะเป็นปุถุชน แต่จะต้องไม่ลุแก่อำนาจความอยากที่เกิดขึ้น เพราะการลุแก่อำนาจความอยาก เป็นมหาโทษมหาภัย เป็นเหตุนำความย่อยยับมาสู่ตัวเองและผู้อื่น คนที่เห็นแก่ตัว ย่อมเป็นคนลุแก่อำนาจความอยากได้เสมอ ท่านสอนให้รู้จักควบคุมอารมณ์ให้ดี รักษาระเบียบ เห็นแก่ธรรมและวินัย ระงับความอยากได้ในทางผิดๆ ถ้าใครปฏิบัติได้ ดังนี้ ย่อมทำให้สังคมมีระเบียบวินัยดีขึ้น สามารถดำรงรักษาสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมไว้ได้ยั่งยืน

6. รักสันติภาพ ขัดเกลาจิตใจเสมอ คนที่รักสงบไม่คิดก่อกวนเบียดเบียนใคร รู้จักขัดเกลาจิตใจอยู่เสมอ ย่อมเป็นคนมั่นคงในศีลในธรรม สนใจในการพัฒนาจิต รู้จักเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ข้อนี้ แสดงถึงความเป็นผู้มีนิสัยดี พร้อมที่จะปฏิบัติดีโดยไม่ประมาท

7.ตั้งใจสนับสนุนคนดี ปกป้องคนดี ขอให้คนดีมีศีลมาอยู่กับหมู่คณะ และอยู่เป็นสุข หมู่ชนใดไม่ริษยากันและกัน ยินดีสดุดีส่งเสริมคนดี เลือกสรรคนดี มีความสามารถ เข้ามาเป็นกำลังพัฒนาหมู่คณะของตน ตั้งใจสนับสนุนจุนเจือ ปกป้องคุ้มครองคนดีนั้นๆ อย่างดี คนดีๆ ก็อยากอยู่ร่วมคณะ เป็นพรรคเป็นพวกของหมู่คณะนั้น ในที่สุด คนดีมีความสามารถ ก็จะพร้อมใจกันช่วยเหลืองานส่วนรวม ให้เจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

ขอบคุณ http://www.itti-patihan.com/ธรรมเพื่อความเจริญ-7-ประการ.html

ที่มา: http://www.itti-patihan.com/ธรรมเพื่อความเจริญ-7-ประการ.html
วันที่โพสต์: 25/11/2556 เวลา 02:16:34 ดูภาพสไลด์โชว์ ธรรมเพื่อความเจริญ 7 ประการ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ธรรมเพื่อความเจริญ 7 ประการ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญ สำหรับหมู่ชนหรือผู้บริหารบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วย 1.หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ การประชุมหารือกันนั้น เป็นเรื่องสำคัญยิ่งในทุกหมู่คณะ ทุกสังคม การที่ผู้นำระดับต่างๆ จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือ หรือให้สมาชิกของทุกหน่วยงานได้พูดคุยอยู่เสมอๆ เป็นประจำในงานการทุกอย่างนั้น นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก ประการแรก เชื่อว่าเป็นการให้เกียรติแก่สมาชิก เป็นการยอมรับว่า สมาชิกแต่ละคนมีความรู้ มีความสามารถที่จะช่วยหมู่คณะได้ เชื่อว่า เป็นการให้ความสำคัญแก่เขา ทำให้เขาเกิดภูมิใจ เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่เป็นผู้นำที่เอาแต่ใจตนเอง ผู้นำนั้นๆ นับว่าเป็นผู้มีความใจกว้าง ใจน่าเคารพนับถือ เมื่อสมาชิกหมู่คณะต่างๆ เกิดความนิยมนับถือในผู้นำ ความสมัครสมานสามัคคีก็มั่นคงในหมู่คณะนั้นๆ 2.พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม และพร้อมเพรียงกันปฏิบัติภารกิจของหมู่คณะ การประชุมที่ดีมีคุณค่ายิ่งใหญ่นั้น จะต้องพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก ไม่เดินออกจากห้องประชุมขณะกำลังมีเรื่องปรึกษาหารือกัน ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ถ้าสมาชิกของหมู่คณะเห็นแก่ส่วนรวม แข่งกันทำงานให้ส่วนรวม สังคมเราตลอดถึงประเทศชาติจะเจริญรวมเร็วเป็นปึกแผ่น 3.ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ การออกระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้ในหมู่คณะหรือบ้านเมืองนั้น ออกมาได้เพราะได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า เป็นการรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ป้องกันไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันและกัน ทำให้ส่วนรวมมีศักดิ์ศรี น่ายกย่อง ทุกคนที่เป็นสมาชิกของสังคม จะต้องถือเป็นวินัยที่พึงปฏิบัติอย่างเสมอภาคกัน และวินัยนี่เองเป็นเหตุส่งเสริมให้การปกครองการบริหารเกิดผลดี มีประสิทธิภาพ 4.เคารพนับถือสักการะผู้ใหญ่ ผู้เป็นประธาน เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่าน ความเป็นผู้ใหญ่กับความเป็นผู้น้อย เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เพราะการปกครอง การบริหารจำเป็นต้องมีผู้ใหญ่ และผู้น้อย หน้าที่ปกครอง หน้าที่สั่งการ หน้าที่อบรมสั่งสอนให้ความรู้ เป็นต้น เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่หรือผู้นำจักต้องปฏิบัติ ในการนับถือผู้ใหญ่ เราก็นับถือเพราะคุณความดีของท่านที่ปรากฏ เช่น ท่านมีความยุติธรรม มีพรหมวิหารธรรม เป็นต้น 5.ไม่ลุแก่อำนาจความอยาก คนเรามีความอยากได้ เพราะเป็นปุถุชน แต่จะต้องไม่ลุแก่อำนาจความอยากที่เกิดขึ้น เพราะการลุแก่อำนาจความอยาก เป็นมหาโทษมหาภัย เป็นเหตุนำความย่อยยับมาสู่ตัวเองและผู้อื่น คนที่เห็นแก่ตัว ย่อมเป็นคนลุแก่อำนาจความอยากได้เสมอ ท่านสอนให้รู้จักควบคุมอารมณ์ให้ดี รักษาระเบียบ เห็นแก่ธรรมและวินัย ระงับความอยากได้ในทางผิดๆ ถ้าใครปฏิบัติได้ ดังนี้ ย่อมทำให้สังคมมีระเบียบวินัยดีขึ้น สามารถดำรงรักษาสิ่งที่มีคุณค่าของสังคมไว้ได้ยั่งยืน 6. รักสันติภาพ ขัดเกลาจิตใจเสมอ คนที่รักสงบไม่คิดก่อกวนเบียดเบียนใคร รู้จักขัดเกลาจิตใจอยู่เสมอ ย่อมเป็นคนมั่นคงในศีลในธรรม สนใจในการพัฒนาจิต รู้จักเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรม ข้อนี้ แสดงถึงความเป็นผู้มีนิสัยดี พร้อมที่จะปฏิบัติดีโดยไม่ประมาท 7.ตั้งใจสนับสนุนคนดี ปกป้องคนดี ขอให้คนดีมีศีลมาอยู่กับหมู่คณะ และอยู่เป็นสุข หมู่ชนใดไม่ริษยากันและกัน ยินดีสดุดีส่งเสริมคนดี เลือกสรรคนดี มีความสามารถ เข้ามาเป็นกำลังพัฒนาหมู่คณะของตน ตั้งใจสนับสนุนจุนเจือ ปกป้องคุ้มครองคนดีนั้นๆ อย่างดี คนดีๆ ก็อยากอยู่ร่วมคณะ เป็นพรรคเป็นพวกของหมู่คณะนั้น ในที่สุด คนดีมีความสามารถ ก็จะพร้อมใจกันช่วยเหลืองานส่วนรวม ให้เจริญก้าวหน้ารุ่งเรืองได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด บทความโดย พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ขอบคุณ… http://www.itti-patihan.com/ธรรมเพื่อความเจริญ-7-ประการ.html

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...