ศีล ๕ ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒) ซื่อสัตย์

แสดงความคิดเห็น

ศีล๕ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒)ซื่อสัตย์

ศีล๕ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒)ซื่อสัตย์ : บาตรเดียวท่องโลก โดยพระพิทยา ฐานิสฺสโร

หญิงไทยท่านหนึ่งมีลูกชายสองคน เดินเข้าแถวรับลูกโป่งฟรี เมื่อได้รับลูกโป่งเรียบร้อยแล้วก็มอบให้ลูกชายคนโต แต่ลูกชายคนเล็กอยากได้ของพี่ แทนที่แม่จะสอนให้ลูกรู้จักการเสียสละ หรือให้เคารพในสิทธิ์ว่าของนี้เป็นของใคร แม่กลัวลูกคนเล็กเสียใจ ก็เลยไปเข้าแถวอีกครั้ง ทั้งที่เขาให้ได้แค่ครอบครัวละ ๑ ลูกเท่านั้น ในระหว่างรอรับอยู่ ลูกชายคนโตสะกิดหลังแม่ ขณะที่แม่อธิบายกับคนแจกว่า ยังไม่ได้ลูกโป่ง แล้วถามแม่เสียงดังว่า แม่สอนให้ผมไม่โกหก แล้วทำไมแม่บอกว่ายังไม่ได้รับลูกโป่ง ทั้งๆ ที่แม่ได้รับแล้วและเอาให้น้องไป แม่ต้องเดินหนีด้วยความละอายและต่อว่าลูกชายตัวดีที่ทำแม่ขายหน้า

บุฟเฟ่ต์อาหารเช้าในโรงแรมสี่ดาว ชาวสวิสเกือบทั้งหมดตักอาหารเฉพาะที่ตัวเองรับประทาน ซึ่งมองดูแล้วไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป แต่เขาบอกว่า เพราะฉันทานได้แค่นี้ ฉันก็ตักเท่านี้ แม้จะมีของบริการมากมายให้ทานโดยที่ไม่เสียตังค์เพิ่มอีก แต่ชาวเอเชียโดยเฉพาะคนจีนและพี่ไทยของเราจะตักอย่างเต็มที่เท่าที่ตักได้ แม้ตัวเองจะทานไม่หมดก็ตาม สุดท้ายของเหลือวางอยู่บนโต๊ะเมื่อทานอาหารอิ่มแล้ว เหมือนเป็นการประจานตัวเอง แต่เราก็บอกอย่างมั่นใจและไม่เสียใจในการกระทำ พร้อมกล่าวว่า ไม่เป็นไร สิทธิ์ของเราเพราะเราจ่ายเงิน รวมในค่าห้องแล้ว

อาจไม่ใช่คนไทยหรือคนเอเชียทั้งหมดที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพียงตัวอย่างที่มองสะท้อนให้เราเห็น บางสิ่งบางอย่างที่ฝังลึกในสามัญสำนึก วิถีคิด การแสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์ในการดำรงอยู่ร่วมกัน รวมถึงการซื่อสัตย์ในวิชาชีพ หน้าที่ของตนและการประกอบซึ่งสัมมาอาชีพ เราพยายามเรียกร้อง ประท้วง เดินขบวน ปิดถนน ให้กลุ่มนักการเมือง นายทุนใหญ่ๆ นักการปกครอง ข้าราชการ ฯลฯ หยุดการคอร์รัปชั่น โกงกินประเทศชาติ เรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องค่าครองชีพ การเพิ่มราคาสินค้าที่ตนเป็นเจ้าของ ลดราคาสินค้าที่ตนเองต้องจ่าย

ทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ในการดำเนินชีวิตของครอบครัวคือเรื่องระดับชาติ เรื่องราวใหญ่ๆ ระดับชาติ คือ เรื่องความเป็นอยู่ในครอบครัว เราทุกคนเพียงแค่หันกลับมาตระหนักรู้ใส่ใจในการดำเนินชีวิตของตัวเอง เคารพซื่อสัตย์ในหน้าที่ของตัวเอง ถึงแม้เราอาจเป็นแค่แม่บ้านก็ตามที แต่การที่เราซื่อสัตย์ไม่ว่าในบทบาทใด เรากำลังเปลี่ยนแปลงครอบครัว ในเวลาเดียวกันเรากำลังเปลี่ยนแปลงชาติหรืออาจเปลี่ยนแปลงโลก โดยที่ไม่ต้องเรียกร้องใดๆ แต่เราทุกคนต่างมีหน้าที่ในการรับผิดชอบร่วมไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ทุกคนต้องทำและมองไปในทิศทางเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จึงปรากฏ

ศีลข้อที่ ๒ สอนให้เราตระหนักรู้ในการได้มา ครอบครองแห่งทรัพย์ด้วยความสุจริต เคารพ ไม่ปล่อยให้ความอยากมาเป็นนายมาบงการชีวิต ไม่เช่นนั้นเราจะทำลายความซื่อสัตย์ต่อตนเองและคนรอบข้างทั้งชีวิต และเราเองจะเป็นบุคคลที่หาความสุขสงบที่แท้ไม่ได้ แม้มีทรัพย์ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ความสะดวกสบายทางวัตถุ การแต่งกายที่ดูดี มีอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ เพราะข้างในของเรายังไม่พอ โหยหา อยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งนับโรคที่น่ากลัวที่สุดของคน

นอกจากนั้นแล้ว เราต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับการให้มากกว่าการรับหรือครอบครอง ใจที่ให้ จะเบาสบาย สุขเย็น มากกว่าใจที่อยากได้ ยิ่งครอบครองเป็นของเรามากใจยิ่งยึดมาก ความทุกข์ ความเสียใจยิ่งมาก เรามาตัวเปล่า เราก็ไปตัวเปล่า ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ติดตามเราไป เราไม่จำเป็นต้องสร้างมาก มีมาก กินมาก แต่งตัวมาก สวยมาก หล่อมาก เราอาจมีสุขสงบมากกว่า เพราะเราไม่ต้องเหนื่อยมาก ดิ้นรนมาก แสวงหามาก เพราะเรามีเพียงพอและยอมรับ ใช้สอยในสิ่งที่มีตามกำลัง เหลือจากที่ใช้เป็นประโยชน์ให้กับสรรพชีวิตต่อไป ความอยู่รอดจึงเกิดขึ้น

ใจที่อยาก ถึงมีมากก็ไม่เคยสุข ยิ่งไม่มี ยิ่งทุกข์มหันต์

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130912/167971/ศีล๕ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒)ซื่อสัตย์.html#.UjqfSFOja8o (ขนาดไฟล์: 167)

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ศีล๕ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒)ซื่อสัตย์ ศีล๕ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒)ซื่อสัตย์ : บาตรเดียวท่องโลก โดยพระพิทยา ฐานิสฺสโร หญิงไทยท่านหนึ่งมีลูกชายสองคน เดินเข้าแถวรับลูกโป่งฟรี เมื่อได้รับลูกโป่งเรียบร้อยแล้วก็มอบให้ลูกชายคนโต แต่ลูกชายคนเล็กอยากได้ของพี่ แทนที่แม่จะสอนให้ลูกรู้จักการเสียสละ หรือให้เคารพในสิทธิ์ว่าของนี้เป็นของใคร แม่กลัวลูกคนเล็กเสียใจ ก็เลยไปเข้าแถวอีกครั้ง ทั้งที่เขาให้ได้แค่ครอบครัวละ ๑ ลูกเท่านั้น ในระหว่างรอรับอยู่ ลูกชายคนโตสะกิดหลังแม่ ขณะที่แม่อธิบายกับคนแจกว่า ยังไม่ได้ลูกโป่ง แล้วถามแม่เสียงดังว่า แม่สอนให้ผมไม่โกหก แล้วทำไมแม่บอกว่ายังไม่ได้รับลูกโป่ง ทั้งๆ ที่แม่ได้รับแล้วและเอาให้น้องไป แม่ต้องเดินหนีด้วยความละอายและต่อว่าลูกชายตัวดีที่ทำแม่ขายหน้า บุฟเฟ่ต์อาหารเช้าในโรงแรมสี่ดาว ชาวสวิสเกือบทั้งหมดตักอาหารเฉพาะที่ตัวเองรับประทาน ซึ่งมองดูแล้วไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป แต่เขาบอกว่า เพราะฉันทานได้แค่นี้ ฉันก็ตักเท่านี้ แม้จะมีของบริการมากมายให้ทานโดยที่ไม่เสียตังค์เพิ่มอีก แต่ชาวเอเชียโดยเฉพาะคนจีนและพี่ไทยของเราจะตักอย่างเต็มที่เท่าที่ตักได้ แม้ตัวเองจะทานไม่หมดก็ตาม สุดท้ายของเหลือวางอยู่บนโต๊ะเมื่อทานอาหารอิ่มแล้ว เหมือนเป็นการประจานตัวเอง แต่เราก็บอกอย่างมั่นใจและไม่เสียใจในการกระทำ พร้อมกล่าวว่า ไม่เป็นไร สิทธิ์ของเราเพราะเราจ่ายเงิน รวมในค่าห้องแล้ว อาจไม่ใช่คนไทยหรือคนเอเชียทั้งหมดที่เป็นเช่นนั้น เป็นเพียงตัวอย่างที่มองสะท้อนให้เราเห็น บางสิ่งบางอย่างที่ฝังลึกในสามัญสำนึก วิถีคิด การแสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์ในการดำรงอยู่ร่วมกัน รวมถึงการซื่อสัตย์ในวิชาชีพ หน้าที่ของตนและการประกอบซึ่งสัมมาอาชีพ เราพยายามเรียกร้อง ประท้วง เดินขบวน ปิดถนน ให้กลุ่มนักการเมือง นายทุนใหญ่ๆ นักการปกครอง ข้าราชการ ฯลฯ หยุดการคอร์รัปชั่น โกงกินประเทศชาติ เรียกร้องความเป็นธรรมในเรื่องค่าครองชีพ การเพิ่มราคาสินค้าที่ตนเป็นเจ้าของ ลดราคาสินค้าที่ตนเองต้องจ่าย ทุกสิ่งทุกอย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน เรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ในการดำเนินชีวิตของครอบครัวคือเรื่องระดับชาติ เรื่องราวใหญ่ๆ ระดับชาติ คือ เรื่องความเป็นอยู่ในครอบครัว เราทุกคนเพียงแค่หันกลับมาตระหนักรู้ใส่ใจในการดำเนินชีวิตของตัวเอง เคารพซื่อสัตย์ในหน้าที่ของตัวเอง ถึงแม้เราอาจเป็นแค่แม่บ้านก็ตามที แต่การที่เราซื่อสัตย์ไม่ว่าในบทบาทใด เรากำลังเปลี่ยนแปลงครอบครัว ในเวลาเดียวกันเรากำลังเปลี่ยนแปลงชาติหรืออาจเปลี่ยนแปลงโลก โดยที่ไม่ต้องเรียกร้องใดๆ แต่เราทุกคนต่างมีหน้าที่ในการรับผิดชอบร่วมไม่ใช่คนใดคนหนึ่ง ทุกคนต้องทำและมองไปในทิศทางเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จึงปรากฏ ศีลข้อที่ ๒ สอนให้เราตระหนักรู้ในการได้มา ครอบครองแห่งทรัพย์ด้วยความสุจริต เคารพ ไม่ปล่อยให้ความอยากมาเป็นนายมาบงการชีวิต ไม่เช่นนั้นเราจะทำลายความซื่อสัตย์ต่อตนเองและคนรอบข้างทั้งชีวิต และเราเองจะเป็นบุคคลที่หาความสุขสงบที่แท้ไม่ได้ แม้มีทรัพย์ อาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ความสะดวกสบายทางวัตถุ การแต่งกายที่ดูดี มีอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ เพราะข้างในของเรายังไม่พอ โหยหา อยากอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งนับโรคที่น่ากลัวที่สุดของคน นอกจากนั้นแล้ว เราต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับการให้มากกว่าการรับหรือครอบครอง ใจที่ให้ จะเบาสบาย สุขเย็น มากกว่าใจที่อยากได้ ยิ่งครอบครองเป็นของเรามากใจยิ่งยึดมาก ความทุกข์ ความเสียใจยิ่งมาก เรามาตัวเปล่า เราก็ไปตัวเปล่า ไม่มีทรัพย์สินใดๆ ติดตามเราไป เราไม่จำเป็นต้องสร้างมาก มีมาก กินมาก แต่งตัวมาก สวยมาก หล่อมาก เราอาจมีสุขสงบมากกว่า เพราะเราไม่ต้องเหนื่อยมาก ดิ้นรนมาก แสวงหามาก เพราะเรามีเพียงพอและยอมรับ ใช้สอยในสิ่งที่มีตามกำลัง เหลือจากที่ใช้เป็นประโยชน์ให้กับสรรพชีวิตต่อไป ความอยู่รอดจึงเกิดขึ้น ใจที่อยาก ถึงมีมากก็ไม่เคยสุข ยิ่งไม่มี ยิ่งทุกข์มหันต์ ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20130912/167971/ศีล๕ที่พึ่งแห่งชีวิต(๒)ซื่อสัตย์.html#.UjqfSFOja8o

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...